
กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร
กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จัก กับกองทุนทั้ง 2 แบบอย่างกว้าง ๆ เริ่มจาก กองทุน LTF มีกองทุนรวมเพียงประเภทเดียว คือ กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนกองทุน RMF นั้น มีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือก เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น
LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว คือกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร เมื่อลงทุนระยะยาวจนครบระยะเวลากำหนดซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรอบระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน
ในขณะที่ RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาวไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ โดยผู้ที่ลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีคล้ายคลึงกับ LTF แต่ RMF จะมีกรอบระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานกว่า คือจะถอนเงินลงทุนได้เมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีและถือหน่วยการลงทุนมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังต้องทยอยลงทุนทุกปีโดยหยุดลงทุนได้ไม่เกินปีเว้นปี
สรุปภาพรวม คือ LTF และ RMF คือกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีแถมมากับการลงทุนด้วย ดังนั้น กองทุนรวมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาก เพราะนอกจะได้ลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ทางภาษีและลาภต่อที่สองอีกด้วย

วัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุน
- LTF สนับสนุนการลงทุนระยะยาว ผ่านกองทุนรวม และส่งเสริมตลาดหุ้นไทย
- RMF สนับสนุนให้ออมเงิน ไว้ใช้ในยามเกษียณ
นโยบายและเงื่อนไขการลงทุน
- LTF เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีความเสี่ยงสูง จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เมื่อลงทุนแล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษี กำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจาก เงินลงทุนที่ขายคืนนั้น
- RMF มีความหลากหลาย ความเสี่ยงมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ นโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ครบถ้วน

เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด
- LTF ไม่มีกำหนดขั่นต่ำ แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- RMF ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้หรอืไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
- RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ต้องอายุ 55 ปีถึงจะสามารถขายคืนได้
ความต่อเนื่องในการลงทุน
- LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี
- RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน เริ่มจากวันแรกที่ได้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน
แล้วกองทุนแบบไหนเหมาะกับใคร
- LTF เหมาะกับผู้ที่ต้องการ ลดหย่อนภาษี อยากลงทุนในหุ้น ระยะยาว แต่ไม่มีความชำนาญ และยังต้องรับความเสี่ยงได้ด้วย
- RMF เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการ ลดหย่อนภาษี ต้องการออมเงิน ไว้ใช้ยาม เกษียณ ด้วยการลงทุนระยะยาว แต่ไม่มีความชำนาญ และต้องรับความเสี่ยงได้ด้วย

เราจึงต้องวางแผนทางการเงินให้ดี อย่ามุ่งหวัง ในเรื่องของเงินมากจนเกินไป เพราะเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ ปลีกย่อยของกองทุน แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน จึงต้องทำการศึกษารายละเอียด การลงทุนให้มั่นใจเสียก่อน ว่าเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของเรา เป็นสำคัญ และอย่าลืมเป้าหมายหลัก ๆ ที่จะตั้งใจลงทุนเพื่อชีวิตหลังเกษียณ และถึงแม้ว่าแต่ละกองทุนจะมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี แต่อย่ายึดเป็นเหตุผลหลัก ที่จะตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนในกองทุนนั้น
จะเห็นได้ว่า LTF และ RMF ต่างกันพอสมควร ก่อนจะซื้อเพื่อลดภาษี ก็ควรจะเช็คก่อนว่าตัวเราเอง เหมาะสมกับกองทุน LTF หรือ กองทุน RMF มากกว่ากัน จากนั้น ค่อยไปเลือกว่าจะซื้อกองทุนไหนดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย, ลงทุนศาสตร์
ติดตามข้อมมูลเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนอื่นๆ ได้ที่ : stockthais เรียบเรียงโดยทีมงาน : รีวิวสล็อตออนไลน์, SLOTXO