การวิเคราะห์กราฟเทคนิค
การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การหาแนวโน้มของราคาถือเป็นเรื่องสำหรับการลงทุนในหุ้น นักเก็งกำไรส่วนใหญ่จะรู้จักเครื่องมือนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเครื่องมือที่คาดการณ์ราคาได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุน (VI) ก็สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อขายได้ การลากเส้นแนวโน้ม เป็นเรื่องง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปใช้ แต่ความแม่นยำของการลากเส้นแนวโน้มจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้งานด้วย หากผู้ใช้งานมีการใช้งานบ่อยจนเกิดเป็นความชำนาญ ก็จะมีความแม่นยำ อย่างแน่นอน

การวิเคราะห์กราฟเทคนิค
การดูแนวรับแนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน แนวที่ราคาขึ้นมาชนแนวเดิมซ้ำๆ ไม่สามารถผ่านไปได้ เรียกว่า แนวต้าน (Resistance line) ส่วนแนวที่ราคาลงมาที่แนวเดิมซ้ำๆ ไม่ทะลุลงเรียกว่า แนวรับ (Support line ) แนวรับและแนวต้านไม่จำเป็นต้องลากผ่านที่จุดต่ำสุดหรือสูงสุดเท่านั้น แต่ควรจะลากผ่านหลายๆจุดซึ่งถือว่ามีนัยที่สำคัญกว่า เมื่อราคาทะลุแนวต้าน แนวต้านเดิมนั้นจะกลายเป็นแนวรับ และเราสามารถคาดการ์ณราคาเป้าหมายในอนาคตได้ คือ เมื่อยกระยะความสูงระหว่างแนวรับกับแนวต้านเดิม คือ A ไปวางที่แนวรับอันใหม่ (ของเดิมเป็นแนวต้าน) แล้ววัดขึ้นไป จะได้เป้าหมายของราคาในอนาคต
เราสามารถใช้จุด high หรือ low ก่อนหน้าเป็น แนวรับแนวต้านได้เช่นกัน จากรูปด้านล่างวงกสมสีแดงเป็น high เดิม หรือเป็นแนวต้าน (Resistance line) เก่า จนเมื่อราคาได้ทะลุขึ้นมา แนวต้านนี้จะกลายเป็นแนวรับ (Support line) ทันทีในวงกลมสีน้ำเงิน การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า break out ขาย
การหาแนวรับ แนวต้านควรใช้คู่กับการตีเส้นแนวโน้ม trend line จะให้ผลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น การลากเส้นแนวโน้มมาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขาย คือเมื่อลากแนวโน้มขาขึ้นได้แล้วราคา break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอ ให้ทยอยซื้อเรื่อยๆ เมื่อทะลุแนวต้าน แต่ควรซื้อให้น้อยลงกว่าครั้งก่อน เพราะอย่าลืมว่าราคาได้ขึ้นไปสูงแล้วควรจะซื้อให้น้อยลงตามหลักการของ Money management เพื่อลดความเสี่ยง
การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว
จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาวก่อน มาถึงระยะสั้น เช่น กราฟราย Month, Week, Day และ Minute เป็นต้น
เส้นแนวโน้ม Trend Line
เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หมายถึง ทิศทางของหุ้นที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ตามแนวโน้มนั้น ๆ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต เราสามารถนำเส้นแนวโน้มไปหาแนวต้าน, แนวรับ หรือหาทิศทางของราคาได้ในแผนภูมิแบบแท่ง, แผนภูมิแบบแท่งเทียน หรือในแผนภูมิแบบ POINT & FIGURE และเราสามารถนำเอาเส้นแนวโน้มไปใช้ร่วมกับ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ได้ เช่น RSI, MOMENTUM ฯลฯ
การวิเคราะห์แนวโน้ม Trend Line
การวิเคราะห์แนวโน้มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
แนวโน้มขึ้น (UPTREND)

แนวโน้มลง (DOWNTREND)

แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND)
แนวโน้มขึ้น (UPTREND)
มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่ายอดเก่า และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มขึ้น (UPTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดต่ำอย่างน้อยสองจุดในแนวขึ้น โดยไม่ควรมีจุดฐานที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขึ้นดังกล่าว ต่อมาหากราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นลง
– ราคาหุ้นจะขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อยๆ
– มีการย่อลงบ้าง แต่จะกลับขึ้นไปอีก และไม่ทำ Low ใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม )
– ระยะการขึ้นมากกว่าลง
แนวโน้มลง (DOWNTREND)
มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะต่ำกว่ายอดเก่า และจุดต่ำสุดของการลดลงครั้งใหม่จะต่ำกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มลง (DOWNTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุดในแนวลง โดยไม่ควรมีจุดยอดที่สูงกว่าเส้นแนวโน้มลงดังกล่าวต่อมา หากราคาหุ้นทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ขึ้นไป เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นขึ้น
– ราคาหุ้นจะลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่เรื่อยๆ
– มีการดีดตัวขึ้นบ้าง แต่จะกลับลงไปอีก และไม่สามารถทำ high
ใหม่ที่สูงกว่าเดิม
– ระยะการลงมากกว่าขึ้น
แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND)
ระดับราคาจะวิ่งอยู่ภายในช่วงแนวรับและแนวต้านในแนวนอน โดยเมื่อราคาเคลื่อนตัวขึ้นและไปพบกับเส้นต้าน ราคาหุ้นจะดีดตัวลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาเคลื่อนที่ไปจนพบกับแนวรับ ก็จะดีดตัวขึ้น โดยเคลื่อนตัวสลับขึ้นลงไปมาในลักษณะแนวระนาบ
– เคลื่อนที่ออกด้านข้างไปเรื่อยๆ
– ระยะการขึ้นลงใกล้เคียงกัน
RSI คืออะไร

RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) ซึ่ง RSI นี้จะวิ่งอยู่ระหว่าง 0 – 100 โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT หรือซื้อมากเกินไป มีโอกาศที่ราคาจะปรับตัวลงมา และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD หรือขายมากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นไป และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการขัดแย้งกัน (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ RSI
วิธีใช้งาน RSI
1) ต่ำกว่าเส้น 30 คืออยู่ในเขต oversold เป็นช่วงแรงขายมากเกินไป ราคาอาจปรับตัวขึ้น แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาลงที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถซื้อได้ถ้าแนวโน้มยังลงอยู่
2) เหนือกว่าเส้น 70 คืออยู่ในเขต overbought เป็นช่วงแรงซื้อมากเกินไป
แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถขายได้ถ้าแนวโน้มยังขึ้นอยู่
3) จะใช้ RSI ดู Overbought, Oversold ได้ดีตอนเป็น sideway
4) นิยมใช้ดูการทำ Divergence ของระดับราคาหุ้นกับค่า RSI ซึ่งมักจะเป็นช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของตลาด
MACD ( Moving Average Convergence / Divergence )

MACD ( Moving Average Convergence / Divergence ) คือเส้นของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา 2 เส้น
สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า Signal Line หรือ MACD Signal คือ เส้น EMA 9 วัน ซึ่งจะถูกวางไว้ใช้คู่กันกับเส้น MACD เพื่อหาสัญญานเข้าซื้อขาย
สูตรคำนวณ MACD
MACD Line = EMA(12) – EMA(26)
Signal Line = EMA(9)
สามารถใช้ MACD ที่ระดับ
0 เป็นตัวบ่งบอก trend ได้เช่นกัน ถ้า MACD
> 0 คือเป็นขาขึ้น, MACD < 0 เป็นขาลง
จากสูตรคำนวณแสดงให้เห็นว่า ถ้า EMA12 ตัด EMA26
นั่นหมายถึง MACD จะเท่ากับ 0 พอดี แต่ถ้า
EMA12 < EMA26 นั่นคือ MACD จะอยู่ต่ำกว่า 0
และถ้า
EMA12 > EMA26 MACD จะอยู่เหนือเส้น 0
หลักการวิเคราะห์
1. ถ้า MACD > 0 หมายถึงเป็นแนวโน้มขาขึ้น
2. ถ้า MACD < 0 หมายถึงเป็นแนวโน้มขาลง
3. ถ้า MACD > 0 และตัด Signal ลงมา หมายถึงราคาอาจพักฐานชั่วคราว
4. ถ้า MACD < 0 และตัด Signal ขึ้นไป หมายถึงราคาอาจจะขึ้น ชั่วคราว
5. ถ้า MACD ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ
6. ถ้า MACD ตัด 0 ลงมา เป็นสัญญาณขาย
การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ
การขัดแย้งกันของ MACD กับดัชนีราคา หรือเรียกว่า DIVERGENCE
DIVERENCE คือ การขัดแย้งกันของ MACD กับราคาหุ้นมี 2 ลักษณะคือ
1. Bearish divergence จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวลงสวนทางกับการสูงขึ้นของดัชนีราคา เป็นการเตือนว่าราคาหุ้นอาจมีการปรับตัวลง
2. Bullish Divegence จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการลดลงของดัชนีราคา เป็นการบอกว่าการลดลงของราคาหุ้นใกล้สิ้นสุด


ติดตามข้อมมูลเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนอื่นๆ ได้ที่ : stockthais เรียบเรียงโดยทีมงาน : รีวิวสล็อตออนไลน์, SLOTXO