การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จะวิเคราะห์จากข้อมูในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นหลัก
วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในอดีต
ในส่วนนี้เราจะเน้นดูในอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ เช่น ดูค่า PE P/BV ROE ROA เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินพวกนี้ จะเป็นตัวบอกผลงานของตัวหุ้น ผลงานของตัวบริษัทในอดีตว่า ผู้บริหารทีฝีมือดี มีการดำเนินงานมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรือเติบโตมาตลอดหรือไม่ จะเป็นการเสริมความมั่นใจว่าเราถือหุ้นได้ถูกตัว
วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในปัจจุบัน
จะเป็นการดูงบการเงิน ว่ามีเงินสดอยู่เท่าไหร่ มีหนี้สินเท่าไหร่ เป็นต้น ตัวนี้จะมีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้เราว่า หุ้นของบริษัทนี้ ตัวบริษัทนี้มีความแข่งแกร่งเพียงใด มีความพร้อมต่อการลงทุนเพิ่ม หรือการขยายโครงการในอนาคตที่ทางบริษัทออกมาคุยโม้ไว้หรือไม่ ถ้าบอกจะขยายธุรกิจแต่ในบัญชีมีหนี้สินพะรุงพะรังแบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าเราดูแต่อดีตผลงานดีมาก แถมปัจจุบันการเงินก็มั่นคง แต่ไม่ได้วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต เราอาจจะได้หุ้นแกร่งแต่อยู่ในช่วงถดถอยก็ได้ (หากแนวโน้มตลาดไม่โต) ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นราคาหุ้นก็จะไม่ไปไหน บางทีถือกันจนเหนื่อย
วิเคราะห์หุ้นโดยดูแนวโน้มในอนาคต
จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ดูแนวโน้มตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภค ในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจลงทุนอยู่ ซึ่งมันจะบอกได้ว่า บริษัทจัดอยู่ในประเภทไหน โตช้า ปานกลาง หรือโตเร็ว
การดูแนวโน้มตลาด ลองวิเคราะห์หาข้อมูลดูว่า ตลาดในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจ (จะซื้อหุ้น) ลงทุนอยู่ มีแน้วโน้มเติบโตไปเรื่อยๆ หรือไม่ หรือว่าตลาดอิ่มตัวแล้ว ถ้าตลาดมีแน้วโน้มโตได้อีก แบบนี้ หุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดนั้นๆ ก็น่าจะสามารถโตได้เช่นกัน
พฤติกรรมผู้บริโภค เราต้องไปดูแน้วโน้มใหญ่ๆ (Mega Trends) ว่าเป็นไปในแนวทางไหน เช่น คนรุ่นใหม่ใช้อินเตอร์เนตเพิ่มขึ้น คนชอบความสะดวกและเข้าร้านสะดวกซื้อมากขึ้น สังคมบ้านเรามีผู้สูงอายุมากขึ้น รถยนต์เพิ่มมากขึ้นจากโครงการรถคันแรก เป็นต้น
จากนั้น เราก็ดูว่าบริษัทได้ออกแบบธุรกิจ เพื่อรองรับกับพฤติกรรมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่ ถ้าบริษัทจับเทรนได้ หุ้นของก็จะเติบโตได้เร็ว และแน่นอนว่ามันจะทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้อีกมากมายมหาศาล เลยทีเดียว
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

PE คืออะไร?
หุ้นที่มี P/E ratio สูง หมายถึง ว่าเรายอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อหุ้นตัวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอีกตัวนึงที่มี P/E ต่ำกว่า ดังนั้นหลายคนมักจะบอกว่า หุ้นที่มี P/E ratio สูงๆ คือหุ้นที่แพง และหุ้นที่มี P/E ratio ต่ำๆ คือหุ้นที่ถูก ดังนั้น การซื้อหุ้นที่มีราคาถูก น่าจะมีโอกาสกำไรมากกว่าซื้อหุ้นที่แพง
เช่น หากหุ้น A ราคา 60 บาท และมีกำไรต่อหุ้น 5 บาท หุ้น A จะมี P/E ratio 12 เท่า ดังนั้นหากสมมุติว่าหุ้น A ไม่มีหนี้เลยจึงสามารถนำกำไรทั้งหมดมาจ่ายปันผลได้ทั้ง 5 บาท นั่นคือ หุ้น A จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีคือ 5/60 = 8.33% และสมมุติว่าหุ้น A จะสามารถรักษาการทำกำไรได้ปีละ 5 บาทไปเรื่อยๆ จะได้ว่าหากเราลงทุนในหุ้น A จะต้องใช้เวลา 60 / 5 หรือ 12 ปีจึงจะได้ทุนที่ลงไปทั้งหมด 60 บาทคืนมา ดังนั้น P/E จะเปรียบเสมือนระยะเวลาในการคืนทุนของการลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ นั่นเอง
เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้น B ราคา 60 บาทเท่ากัน และมีกำไรต่อหุ้น 10 บาท หุ้น B จะมี P/E ratio 6 เท่า ถ้าสมมุติในแบบเดียวกันกับหุ้น A จะได้ว่า หุ้น B จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล 10/60 = 16.67% และจะใช้เวลาคืนทุน 6 ปี กว่าคือหุ้น B เพราะใช้เวลาในการคืนทุนเร็วกว่าและให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีมากกว่า
ดังนั้น อาจจะดูเหมือนว่าการใช้ P/E ratio จะง่ายนิดเดียว ก็คือ ซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำๆ และขายหุ้นที่ P/E สูงๆ ออกไป แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว อาจจะไม่ทุกครั้งไปที่ทำอย่างนี้แล้วจะได้ผล บางครั้ง การซื้อหุ้นที่มี P/E ratio สูงกลับมีผลกำไรดีกว่าการซื้อหุ้นที่มี P/E ratio ต่ำ เนื่องจากหุ้นแต่ละตัวมีลักษณะไม่เหมือนกัน และไม่ได้เป็นไปตามข้อสุมมติฐานที่สมมุติดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรใช้ P/E ratio เพียงอย่างเดียวในการวิเคราะห์หุ้น ควรพิจารณาปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย

P/BV คืออะไร?
P/BV (Price/Book Value) โดย Book Value คิดมาจาก Equity/Number of Shares โดยทั่วๆไปแล้วค่า P/BV นี้ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือ 1 เท่า หากสามารถซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV น้อยกว่า 1 ได้ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท
BV หรือ Book Value แปลเป็นไทยคือ “มูลค่าตามบัญชี” ก็คือมูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น หรือถ้าความหมายจริงๆ ก็คือ มูลค่าของทรัพย์สินที่หักด้วยหนี้สินแล้ว เหลือเป็นมูลค่าของผู้ถือหุ้นเท่าไร
เนื่องจากเป็นมูลค่าทางบัญชี มันจึงเกิดปัญหาขึ้นมาคือ การลงบัญชีนั้นแต่ละบริษัทอาจบันทึกสินทรัพย์และหนี้สินแตกต่างกันไป เช่นสินทรัพย์ถูกกำหนดให้บันทึกมูลค่าที่ราคาทุน คือราคาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา บางบริษัทมีที่ดินที่บันทึกไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว พอมาถึงปัจจุบันมูลค่าของที่ดินเพิ่มขึ้นมาหลายเท่าตัว แต่มูลค่าที่บันทึกลงในบัญชีนั้นยังมีมูลค่าเท่ากับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หากไม่มีการประเมินมูลค่าและบันทึกบัญชีใหม่มูลค่าก็ยังคงบันทึกเอาไว้เท่าเดิม
มูลค่าทางบัญชีนี้ถ้าหากเราเข้าใจลึกซึ้งก็สามารถช่วยให้เราค้นพบบริษัทที่น่าลงทุนได้ไม่ยาก
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมีเครื่องจักรผลิตสินค้าอยู่เครื่องหนึ่ง สามารถผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี พอเวลาผ่านไป มีผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันออกมาขายมากๆ เข้า ผลกำไรที่เคยมีกลับกลายเป็นผลขาดทุน บางบริษัทคู่แข่งทนไม่ไหวเลิกกิจการไประหว่างยังขาดทุน ส่วนบริษัทยังทนผลิตสินค้าต่อไป แน่นอนราคาหุ้นของบริษัทคงต้องตกลงมาอย่างหนัก และถ้าหากตกลงมามากๆ เมื่อเทียบกับมูลค่าของเครื่องจักรแล้วละก็ดูให้ดีๆ เลยครับ เพราะถ้าเราสร้างเครื่องจักรใหม่อาจต้องใช้เงินทุนมากกว่าราคาหุ้นตอนนั้นแน่นอน ฉะนั้นหุ้นของบริษัทนั้นจึงถือได้ว่าถูกมากๆ เมื่อเทียบกับราคาที่จะต้องไปลงทุนสร้างเครื่องจักรใหม่ เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตที่ราคาหุ้นปิโตรเคมีบางบริษัทต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี และต่ำกว่ามูลค่าสร้างโรงงานใหม่มาก พอธุรกิจกลับมาเริ่มมีกำไร ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นหลายเท่าตัว

ROE คืออะไร?
ROE คือ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีหลักการในการลงทุนหลายอย่าง บางท่านอาจจะให้ ความสำคัญกับปริมาณการซื้อขายและราคาหุ้นเป็นหลัก โดยใช้หลักการทางเทคนิคเป็นจุดสำคัญ หรือ บางท่านอาจจะชอบลงทุนในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ซื้อขายวันต่อวัน การลงทุนในลักษณะดังกล่าวอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องรู้ซึ้งถึงตื้นลึกหนาบางของบริษัทที่จะลงทุนมากนัก สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในระยะสั้นมากกว่า แต่ “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” ที่เน้นการถือหุ้นที่มีศักยภาพในระยะยาว สิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับนักลงทุนก็คือ การที่นักลงทุนควรจะเข้าใจในพื้นฐานของธุรกิจที่จะลงทุนนั้นเป็นอย่างดี
เราจะมาเจาะลึกถึงหัวข้อของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญค่าหนึ่ง ก็คือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity Ratio หรือ ROE) ROE คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นๆ สูตรที่ใช้กันทั่วไป ก็คือ “ROE = Net Profit/Equity หรือ กำไรสุทธิหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น”
สมมติบริษัท ก. มีงบกำไรขาดทุนและงบดุล ณ ปลายปีคร่าวๆ ดังนี้
งบกำไรขาดทุนบริษัท ก. (หน่วย: ล้านบาท)
ยอดขาย 12,000
ต้นทุนรวมภาษี 10,800
กำไรสุทธิ 1,200
งบดุลบริษัท ก.(หน่วย: ล้านบาท)
ทรัพย์สินหมุนเวียน 2,000 หนี้สินหมุนเวียน 2,000
ทรัพย์สินถาวร 8,000 หนี้สินระยะยาว 0
ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,000
รวมทรัพย์สิน 10,000 รวมหนี้สินและส่วนผู้ถือหุ้น 10,000
ดังนั้น ROE ของบริษัท ก. คำนวณจาก กำไรสุทธิหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งเท่ากับ 1,200/8,000 = 15%
ในทางปฏิบัติควรจะนำส่วนผู้ถือหุ้นของต้นปีและปลายปีมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อความถูกต้องมากขึ้น ROEที่คำนวณได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถนำเงินของผู้ถือหุ้นไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับ 15% จากการดำเนินงานของบริษัทตามปกติ นักลงทุนสามารถนำ ROE ไปเปรียบเทียบระหว่างบริษัทต่างๆในตลาดหลักทรัพย์เพื่อตรวจสอบความสามารถของผู้บริหารในการบริหารเงินลงทุนของบริษัท

ROA คืออะไร?
ROA คือ ดูว่าบริษัทมีการเอาสินทรัพย์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แค่ไหน มีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่มีกี่ % โดยที่ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทนั้น เกิดจากของสองอย่างคือ ส่วนทุนที่เกิดจากการลงเงินของผู้ถือหุ้น(หรือที่สะสมๆ กันมาเนื่องจากมกำไรสะสม) และส่วนที่เกิดจากการกู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินระยะสั้น ระยะยาว หนี้สินหมุนเวียนเครดิตอะไรก็ตาม
จากสมการ สินทรัพย์ (Asset) = ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) + หนี้สินสารพัด (Liability)
จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ทำให้เกิดผลตอบแทนจริงๆ ของบริษัทนั้นคือ Asset นั่นแหละ ลองนึกภาพดูว่า ถ้าบริษัทไม่มีหนี้เลย (สมมติว่ามีบริษัทประเภทนี้นะ) ซื้ออะไรมาก็จ่ายเป็นเงินสดหมด หนี้สินก็ไม่กู้ เรียกว่ารวยแล้วอะไรแบบนั้น เงินฉันเยอะ ไม่กู้ๆๆ จะเห็นได้ว่า สินทรัพย์จะ = ส่วนของผู้ถือหุ้น ลักษณะอย่างนี้จะทำให้ ROE พอๆ กันกับ ROA
แต่ถ้าบริษัทมีหนี้มาก ROE ก็สูงได้ โดยไม่ต้องเอาเงินผู้ถือหุ้นมาใช้ เพราะใช้เงินกู้มาลงทุนแทน แต่การมีหนี้มันบอกแค่ว่าธุรกิจเสี่ยงขึ้นเฉยๆ ไม่ได้บอกว่ามันไม่ดี เพราะถ้ากู้แล้วคุ้มก็ดี เพราะส่วนผูุ้ถือหุ้นจะได้ผลตอบแทนด้วยการที่บริษัทมี ROE สูงๆ โดยใช้เงินกู้มาลงทุนไงครับ ไม่ต้องใช้เงินของผู้ถือหุ้นเอง
ธุรกิจที่ ROA ต่ำ ROE สูงก็พวกอสังหาให้เช่า ส่วนใหญ่จะกู้ 70 ทุนตัวเอง 30 สมมติทำอพาร์ทเม้นต์ 50 ห้องค่าเช่าห้องละ 3000 ลงทุน 20 ล้าน จะได้งบดุลดังนี้
สินทรัพย์ 20 ล้าน = หนี้ 14 ล้าน + ทุน 6 ล้าน
สมมติว่าคนเช่าเต็มจะมีรายได้ปีละ 3000x50x12=1,800,000 บาท
สมมติมีค่าใช้จ่ายต่างๆเหลือเงินครึงนึงก็เหลือกำไร 900,000 จะได้
ROA = 900,000/20,000,000=0.045 หรือ 4.5%
ROE = 900,000/6,000,000=0.15 หรือ 15%
ติดตามข้อมมูลเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนอื่นๆ ได้ที่ : stockthais เรียบเรียงโดยทีมงาน : รีวิวสล็อตออนไลน์, SLOTXO