กระทิงVSหมี

หมี VS กระทิง

กระทิงVSหมี โดยทั่วไปภาวะตลาดหุ้น แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตลาดเป็นขาขึ้น หรือที่รู้จักกันดีว่า ตลาดกระทิง (Bull Market) และ ตลาดช่วงขาลง หรือ ตลาดหมี ( Bear Market ) แต่ยังมีตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ตลาดขึ้นไม่มากและลงไม่มาก ไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน (Sideway Market)

ตลาดกระทิง (Bull Market) คืออะไร?

Bull Market

ตลาดกระทิง Bull Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบกระทิง คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Up trend ) แบบชันขึ้นมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ ถือว่าเป็น Bull Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bull Market ได้แน่นอน 100%

ตลาดหมี (Bear Market) คืออะไร?

Bear Market

ตลาดหมี Bear Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบหมี คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Down trend ) แบบชันลงมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ถือว่าเป็น Bear Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bear Market ได้แน่นอน 100%

อย่างที่รู้กันว่า ตลาดหุ้น ถือว่าเป็น ตลาดที่มีความผันผวน เป็นอย่างมาก โดยถ้าหากคุณมองดูตลาดในรูปแบบของกราฟ จะเห็นได้ว่า มันมีเส้นพุ่งขึ้น และลงไปตามจังหวะต่าง ๆ กันเราสามารถเรียกภาวะของตลาดเหล่านั้นว่า “ ตลาดกระทิง ( ตลาดขาขึ้น ) ” และ “ ตลาดหมี ( ตลาดขาลง ) ” ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้

ตลาดขาขึ้น คือ ตลาดกระทิง Bull Market เป็นการเรียกตลาดในช่วงขาขึ้น ( โดยเปรียบเทียบกับวัวกระทิง ที่มักจะมองไปข้างบนเสมอ ) มักเป็นภาวะที่เกิดในช่วงเศรษฐกิจแข็งแรง หรือช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น อัตราการว่างงานจึงต่ำ นักลงทุนมักให้ความเชื่อมัน เข้ามาลงทุน ในภาวะที่ตลาดเป็นช่วงกระทิง ซึ่งจะทำให้ตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้น

ตลาดขาลง คือ ตลาดหมี Bear Market ตรงกันข้ามกับตลาดกระทิง ตลาดหมี คือ ตลาดในภาวะขาลง ( เปรียบเทียบกับหมี ที่จะมองลงมาข้างล่างเสมอ ) มักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจอ่อนแอ หรือถดถอย มีอัตราการว่างงานสูง รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อสูงด้วยเช่นกัน ซึ่งสภาวะตลาดหมี มักจะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าลงทุน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับดัชนีตลาดหุ้น ที่ตกลงมากว่า 20% เป็นเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า 2 เดือน ถือว่าเป็นช่วงตลาดหมี

สภาวะตลาดกระทิงและตลาดหมี ทำให้นักลงทุน สามารถเลือกจังหวะลงทุน อย่างปลอดภัยได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงตลาดขาขึ้น นักลงทุนก็สามารถเข้ามาลงทุนเพื่อทำกำไรได้ ในทางตรงกันข้าม หากเป็นช่วงที่ตลาดเป็นภาวะขาลง นักลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพื่อป้องกันการขาดทุน นั่นเอง

ตลาดกระทิงและตลาดหมี

ตลาดกระทิงและตลาดหมี ของตลาดหุ้นไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปีเริ่มต้น ของการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ต้นปี 2519 โดยดัชนีหุ้น สามารถแตะระดับสูงสุด ในช่วงนั้นที่ 210.54 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 134 จุด หรือ 175% ภายในช่วงเวลา 2 ปี

ปัจจัยที่สนับสนุนภาวะตลาดหุ้นในช่วงนั้น คือ การเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุน เพราะมองว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน บวกกับจำนวนบริษัทจดทะเบียน มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และ ผลประกอบการเติบโต 

ต่อมาในปี 2522 ประเทศไทย เผชิญกับวิกฤติราคาน้ำมัน ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก กลุ่มโอเปคปรับราคาน้ำมัน เพิ่มขึ้นถึง 30% อีกทั้ง ยังมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ภาวะเงินตึงตัวทวีความรุนแรง การลงทุนภาคเอกชนซบเซา รวมทั้ง วิกฤติการณ์ราชาเงินทุน ที่สร้างความตื่นตระหนักให้กับนักลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะหมีเกือบ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2521 – 2525 โดยดัชนีหุ้นปรับตัวลดลง 60% แตะระดับต่ำสุดที่ 102.03 จุด

ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นไทยกลับเข้าสู่ภาวะกระทิงอีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญที่กระทบต่อตลาดหุ้น เช่น พฤษภาทมิฬ สงครามอ่าวเปอร์เซีย และวิกฤติเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แต่หุ้นไทยได้รับผลกระทบไม่มาก ดัชนีหุ้นปรับลดลงแต่ก็อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่นาน

ตั้งแต่ปี 2530 จนถึงปี 2537 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวจากระดับ 300 จุดไปจนถึงระดับ 1,753.73 จุด ในวันที่ 4 มกราคมปี 2537 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ของดัชนีหุ้นไทยจนถึงปัจจุบัน

วิกฤติร้ายแรงที่สุดของตลาดหุ้นไทย ได้เกิดขึ้นในช่วงปี 2539 จากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย การประกาศลอยตัวค่าเงินบาทส่งผลต่อตลาดหุ้นครั้งใหญ่ ดัชนีหุ้นปรับลดลงจากระดับ 1,400 จุด ไปสู่ระดับ 200 จุด ในระยะเวลา 3 ปี เป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงและยาวนานที่สุดในตลาดหุ้นไทย

ผลลัพธ์จำนวนของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกเพิกถอน ในช่วงนี้มีจำนวนที่สูงที่สุด ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนลดลงอย่างต่อเนื่อง มูลค่ามาร์เก็ตแคป ณ ปี 2541 เหลือเพียง 732,663 ล้านบาท แต่หลังจากได้รับแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องจากปี 2543 จนถึงปี 2549 ตลาดหุ้นไทยได้ฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ

ในปี 2551 วิกฤติการเงินสหรัฐอเมริกาได้ลามไปทั่วโลก ตลาดหุ้นไทยกลับเข้าสู่ภาวะตลาดหมีอีกครั้ง ดัชนีหุ้นลงแตะระดับต่ำสุดอีกครั้งที่ 384.15 จุด เป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และ หลังจากช่วงวิกฤติที่ยาวนานของตลาดหุ้นไทยผ่านพ้นไปเกือบ 6 ปี ตลาดหุ้นไทยยังถือว่าสามารถยืนอยู่ได้ในระดับที่ดี ทั้งๆ ที่ยังมีเหตุการณ์วุ่นวายทั้งในประเทศและนอกประเทศ หุ้นไทยยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องจากระดับ 300 จุด จนทะลุ 1,600 จุด ในเดือนพฤษภาคมปี 2556 และปัจจุบันหุ้นไทยยังถูกมองว่าเป็นภาวะกระทิงต่อไป เพียงแค่รอปัจจัยบวกเพื่อเข้ามาสนับสนุนเท่านั้น

ติดตามข้อมมูลเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนอื่นๆ ได้ที่ : stockthais เรียบเรียงโดยทีมงาน : รีวิวสล็อตออนไลน์, SLOTXO