ประเภทของหุ้น

1.หุ้นสามัญ (Common Stock) ประเภทของหุ้น สามัญเป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชน จำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญ จะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียง ลงมติ ในที่ประชุม ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจ ในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ

หุ้นสามัญ ตราสารทุน ที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้น ๆ การถือหุ้นสามัญ เป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลาย หรือ เลิกกิจการ

ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะมีเครื่องหมาย – (ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น

  • กำหนดให้ ZZZ คือหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด
  • ZZZ-W คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (วอแรนต์) ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด (บริษัทเป็นผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์เอง)
  • ZZZ-F คือหุ้นสามัญ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัด
  • ZZZ-P คือหุ้นบุริมสิทธิ์ ของบริษัท ZZZ จำกัด
  • ZZZ-Q คือหุ้นบุริมสิทธิ์ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัด
  • ZZZ-C คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด ที่ออกโดยบุคคลที่สาม ที่ผ่านมาบุคคลที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ดังกล่าว คือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

ประเภทของหุ้นสามัญแบ่งตามกลุ่มการลงทุน

  • หุ้นบลูชิป (Blue-chip stock) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high risk, high return ตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้น
  • Income stock หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
  • Growth stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่มักจ่ายเงินปันผลต่ำ
  • Cyclical stock หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัว หดตัวตามวงจรของเศรษฐกิจ
  • Defensive stock หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด หรือหุ้นที่มีค่าเบต้าติดลบ
  • Large-cap stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 4,400 ล้านบาท เช่น หุ้นใน SET50 index
  • Midcap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดอยู่ระดับกลางระหว่าง 540 -4,400 ล้านบาท
  • Small-cap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 540 ล้านบาท

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญ ยังมีสิทธิได้รับเงินปันผล เมื่อบริษัทมีผลกำไร และ มีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ตามศักยภาพของบริษัท รวมถึง มีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุน หรือ จัดสารใบสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น

ข้อดี หุ้นสามัญ
1. ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
2. จำหน่ายง่าย เพราะ มีอัตราตอบแทนสูงกว่า หุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้
3. มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม

ข้อเสีย หุ้นสามัญ
1. มีผลตอบแทนไม่แน่นอน
2. ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นสามัญ สูงกว่าหุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้

2.หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ เช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แม้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียง ลงมติ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ซึ่งอาจจะมาก หรือ น้อยกว่า ผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ ขณะเดียวกัน หากกิจการนั้นต้องเลิกกิจการ และ มีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ก็จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

หุ้นบุริมสิทธิ ( preferred stock ) ตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสีย งในการบริหาร มีข้อแตกต่าง จากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะได้รับสิทธิในการชำระคืน เงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิ ที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้ มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือ ภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิ บนกระดานหุ้น สังเกตได้จากสัญลักษณ์ + หรือ P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

1. หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้น มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล
2. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non – Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ หากปีใดไม่ได้จ่ายเงินปันผล จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไป
3. หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้น มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผล ในอัตราที่กำหนดแล้ว
4. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิ ที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น

ข้อดี ของการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ

1. มีความคล่องตัวและความยืดหยุ่น กล่าวคือ เงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิ ไม่เป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายประจำ เมื่อเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยจ่ายให้หุ้นกู้ ซึ่งมีฐานะเป็นหนี้สิน ของกิจการ
2. ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืน ทำให้ธุรกิจไม่ต้องเตรียมจัดสรรเงินทุน ไว้เพื่อไถ่ถอน
3. หุ้นบุริมสิทธิถือเป็นส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิ จึงยังทำให้บริษัทรักษาฐานะ และ อำนาจในการก่อหนี้ไว้ได้ ถ้ามีความจำเป็น ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต
4. การออกหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้กิจการอาจไม่จำเป็นต้องออกหุ้นสามัญอีก ดังนั้น จึงไม่กระทบกระเทือน ราคาหุ้นสามัญ
5. การออกหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กิจการสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปค้ำประกันหนี้ชนิดอื่นได้

ข้อเสีย ของการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ

1. อัตราเงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้
2. เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย ที่นำไปหักภาษีในการคำนวณหากำไรสุทธิ
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ค่านายหน้า มักสูงกว่าหุ้นกู้
4. ความนิยมลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิมีน้อย เนื่องจากข้อเสียเปรียบบางประการ สำหรับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ไม่มีสิทธิออกเสียง ในการบริหารงาน ดังนั้น การจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีความเสี่ยงต่อการไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการเนื่องจากขายไม่ได้

ติดตามข้อมมูลเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนอื่นๆ ได้ที่ : stockthais เรียบเรียงโดยทีมงาน : รีวิวสล็อตออนไลน์, SLOTXO