5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่

5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่

5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่ 5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่ เล่นอย่างไรให้ได้กำไร ทุกครั้งที่ได้ยินคนรอบตัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย เริ่มพูดคุยกันว่า “อยากจะเริ่มต้นเล่นหุ้น” ทีไร บอกตรงว่าใจสั่นขึ้นมาทุกที เพราะใจหนึ่งก็รู้สึกดีใจที่คนหลายคนสนใจเรื่องการลงทุน เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับตัวเอง แต่อีกใจหนึ่งกลับรู้สึกหวั่นๆ เพราะทุกครั้งที่เป็นแบบนี้ นั่นแปลว่าจะมี “มือใหม่” หลายคนที่ขาดทุนจนเข็ด และขยาดตลาดหุ้นกันไปเลยครับ ใครหลายคนมักจะตั้งคำถามว่า ถ้าอยากจะเล่นหุ้น ต้องมีอะไรบ้าง คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ คือ ต้องมี “เงิน” เป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าเงินที่เรามี นั่นคือ “ความรู้และความเข้าใจที่ถูกวิธีในการลงทุน” ต่างหากครับ การเล่นหุ้นให้ได้กำไรตลอดเวลานั้น เป็นไปได้ แต่ต้องทำตามเคล็ดลับดีๆ ทั้ง 5 ข้ออย่างเคร่งครัดนะครับ เอาล่ะ.. เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า เคล็ดลับในการเล่นหุ้นให้ได้กำไรทั้ง 5 ข้อนี้ มีอะไรบ้าง 1. เปลี่ยนคำว่าเล่นเป็นลงทุน สิ่งแรกเราต้องเข้าใจ ว่าความแตกต่างระหว่างของคำว่า “เล่นหุ้น” กับ “การลงทุนในหุ้น” นั่นคือ “เป้าหมาย“ ในการลงทุน เพราะคำว่า “เล่นหุ้น” นั้น มักจะหมายถึงการเล่นเก็งกำไรในระยะสั้นๆ  ซึ่งต้องการกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น แต่การลงทุนในหุ้น ต้องการความมั่นคงในระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนจากการเติบโตของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล หรือมูลค่าของหุ้นในอนาคต ดังนั้น สำหรับมือใหม่ทุกคน ขอแนะนำให้เริ่มต้นตั้งเป้าหมายที่การลงทุนระยะยาวเป็นลำดับแรก อย่าคิดที่จะซื้อขายเล่นๆ เพื่อหวังเก็งกำไร เพราะสุดท้ายแล้ว มักจะจบลงที่ลุ้นกันจนตัว “เกร็ง” ทุกทีเลยเชียว 2. ต้องใช้เงินเย็นเท่านั้น เงินเย็น คือเงินที่เราสามารถเสียไปโดยที่ไม่เดือดร้อน หรือพูดง่ายๆ คือเงินที่หายไปก็ไม่เสียดายนั่นเอง เพราะการลงทุนในหุ้นนั้นมี “ความเสี่ยง” ดังนั้นถ้าหากเราเอาเงินที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตไปเสี่ยง แบบนั้นคงไม่ดีใช่ไหมครับ แต่การใช้เงินเย็นก็ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยงนะครับ จะเงินร้อน เงินเย็น เงินคนอื่น เงินแบบไหนมันก็เสี่ยงทั้งหมด เมื่อมาลงทุนในหุ้น แต่ข้อได้เปรียบของเงินเย็น คือเป็นเงินที่ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุกวัน แต่มันอาจจะเจ็บใจเล็กน้อยเมื่อขาดทุน เพราะหลายๆ ตัวอย่างที่ผิดพลาดและขาดทุนแบบสุดกู่ ไปไม่กลับหลับไม่ตื่น คือใช้เงินกู้ในการเล่นหุ้น พอเล่นแล้วเสีย คราวนี้ก็เพลียกว่าเดิมเพราะต้องมีภาระทั้งดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในชีวิตอีกด้วยครับ นอกจากเงินเย็นแล้ว สิ่งแรกที่ควรต้องมีก่อนจะเริ่มลงทุน คือ เงินออม โดยอย่างน้อยต้องมีเงินออมไว้จำนวน 3-6 เท่า ของรายจ่าย เผื่อไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินและไม่คาดฝันด้วยครับ 3. รู้จักหุ้นให้ดีเสียก่อน คำว่ารู้จักหุ้นให้ดีเสียก่อน ไม่ได้แปลว่าให้ไปทำความรู้จัก สวัสดีทักทายหุ้นที่เราต้องการลงทุนนะครับ แต่ให้รู้ก่อนว่า หุ้นตัวนั้นที่เราเลือก ประกอบธุรกิจอะไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร ข้อมูลต่างๆ บทวิเคราะห์ ข่าว ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ และอื่นๆ อีกมากมายที่เราต้องรู้ ถ้าถามว่ารู้แค่ไหนดี บอกตรงๆ ว่ารู้ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ และเมื่อรู้เยอะแล้ว ต้อง “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” ข้อมูลให้เป็นด้วย เพื่อที่จะได้เข้าใจและวางแผนการลงทุนได้อย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดใหญ่ๆ ที่มือใหม่เจอเสมอ นั่นคือ “หุ้นเพื่อนบอก” เพื่อนเรานี่แหละครับตัวดี บอกข่าวมาว่าหุ้นตัวนี้ดีๆๆ ให้เรารีบๆ ซื้อ แถมบอกราคาเป้าหมายไว้เสร็จสรรพ แต่ถ้าเราซื้อไปโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลอะไรเลย แต่รีบซื้อเพราะกลัวว่าจะ “ตกรถ” (หุ้นขึ้น แต่ไม่ได้ซื้อ) แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผ่านไปสักพัก เรากลับ “ติดดอย” แทน เพราะว่าเจ้าเพื่อนตัวดีมันไม่เคยบอกเลยว่า ราคาที่เหมาะจริงๆ ของหุ้นตัวนี้คือเท่าไรกันแน่ คำที่น่ากลัวอีกคำ คือ “วงใน” หรือ “เค้าว่ามา” รับประกันเลยว่า ถ้าข่าวหลุดมาถึง “มือใหม่” เมื่อไรแล้วล่ะก็ ข่าวนั้นคงไม่ใช่ “วงใน” แล้วล่ะครับ 4. รู้จักตัวเราให้ดีพอ รู้ก่อนว่า เรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหนกันแน่ เพราะบางคนเล่นหุ้นเพราะหวังกำไรเยอะๆ แต่รับความเสี่ยงไม่ได้ ผลสุดท้ายต้องทรมานจิตใจแทน ดูเช้า ดูเย็น ดูทั้งวัน งานการไม่ได้ทำเพราะกลัว อันนี้ก็ไม่ไหวนะครับ อีกอย่างที่สำคัญ และต้องทบทวนตลอดเวลา นั่นคือ...
Read More
การวิเคราะห์กราฟเทคนิค

การวิเคราะห์กราฟเทคนิค

การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การหาแนวโน้มของราคาถือเป็นเรื่องสำหรับการลงทุนในหุ้น นักเก็งกำไรส่วนใหญ่จะรู้จักเครื่องมือนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเครื่องมือที่คาดการณ์ราคาได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุน (VI) ก็สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อขายได้ การลากเส้นแนวโน้ม เป็นเรื่องง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปใช้ แต่ความแม่นยำของการลากเส้นแนวโน้มจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้งานด้วย หากผู้ใช้งานมีการใช้งานบ่อยจนเกิดเป็นความชำนาญ ก็จะมีความแม่นยำ อย่างแน่นอน การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การดูแนวรับแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน แนวที่ราคาขึ้นมาชนแนวเดิมซ้ำๆ ไม่สามารถผ่านไปได้ เรียกว่า แนวต้าน (Resistance line) ส่วนแนวที่ราคาลงมาที่แนวเดิมซ้ำๆ ไม่ทะลุลงเรียกว่า แนวรับ (Support line ) แนวรับและแนวต้านไม่จำเป็นต้องลากผ่านที่จุดต่ำสุดหรือสูงสุดเท่านั้น แต่ควรจะลากผ่านหลายๆจุดซึ่งถือว่ามีนัยที่สำคัญกว่า เมื่อราคาทะลุแนวต้าน แนวต้านเดิมนั้นจะกลายเป็นแนวรับ และเราสามารถคาดการ์ณราคาเป้าหมายในอนาคตได้ คือ เมื่อยกระยะความสูงระหว่างแนวรับกับแนวต้านเดิม คือ A ไปวางที่แนวรับอันใหม่ (ของเดิมเป็นแนวต้าน) แล้ววัดขึ้นไป จะได้เป้าหมายของราคาในอนาคต เราสามารถใช้จุด high หรือ low ก่อนหน้าเป็น แนวรับแนวต้านได้เช่นกัน จากรูปด้านล่างวงกสมสีแดงเป็น high เดิม หรือเป็นแนวต้าน (Resistance line) เก่า จนเมื่อราคาได้ทะลุขึ้นมา แนวต้านนี้จะกลายเป็นแนวรับ (Support line) ทันทีในวงกลมสีน้ำเงิน การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า break out ขาย การหาแนวรับ แนวต้านควรใช้คู่กับการตีเส้นแนวโน้ม trend line จะให้ผลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น การลากเส้นแนวโน้มมาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขาย คือเมื่อลากแนวโน้มขาขึ้นได้แล้วราคา break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอ ให้ทยอยซื้อเรื่อยๆ เมื่อทะลุแนวต้าน แต่ควรซื้อให้น้อยลงกว่าครั้งก่อน เพราะอย่าลืมว่าราคาได้ขึ้นไปสูงแล้วควรจะซื้อให้น้อยลงตามหลักการของ Money management เพื่อลดความเสี่ยง การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาวก่อน มาถึงระยะสั้น เช่น กราฟราย Month, Week, Day และ Minute เป็นต้น เส้นแนวโน้ม Trend Line เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หมายถึง ทิศทางของหุ้นที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ตามแนวโน้มนั้น ๆ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต เราสามารถนำเส้นแนวโน้มไปหาแนวต้าน, แนวรับ หรือหาทิศทางของราคาได้ในแผนภูมิแบบแท่ง, แผนภูมิแบบแท่งเทียน หรือในแผนภูมิแบบ POINT & FIGURE และเราสามารถนำเอาเส้นแนวโน้มไปใช้ร่วมกับ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ได้ เช่น RSI, MOMENTUM ฯลฯ การวิเคราะห์แนวโน้ม Trend Line การวิเคราะห์แนวโน้มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แนวโน้มขึ้น (UPTREND) แนวโน้มลง (DOWNTREND) แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND) แนวโน้มขึ้น (UPTREND) มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่ายอดเก่า และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มขึ้น (UPTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดต่ำอย่างน้อยสองจุดในแนวขึ้น โดยไม่ควรมีจุดฐานที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขึ้นดังกล่าว ต่อมาหากราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นลง - ราคาหุ้นจะขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อยๆ - มีการย่อลงบ้าง แต่จะกลับขึ้นไปอีก และไม่ทำ Low...
Read More
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จะวิเคราะห์จากข้อมูในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นหลัก วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในอดีต ในส่วนนี้เราจะเน้นดูในอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ เช่น ดูค่า PE  P/BV ROE  ROA  เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินพวกนี้ จะเป็นตัวบอกผลงานของตัวหุ้น ผลงานของตัวบริษัทในอดีตว่า ผู้บริหารทีฝีมือดี มีการดำเนินงานมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรือเติบโตมาตลอดหรือไม่ จะเป็นการเสริมความมั่นใจว่าเราถือหุ้นได้ถูกตัว วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในปัจจุบัน จะเป็นการดูงบการเงิน ว่ามีเงินสดอยู่เท่าไหร่ มีหนี้สินเท่าไหร่ เป็นต้น ตัวนี้จะมีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้เราว่า หุ้นของบริษัทนี้ ตัวบริษัทนี้มีความแข่งแกร่งเพียงใด มีความพร้อมต่อการลงทุนเพิ่ม หรือการขยายโครงการในอนาคตที่ทางบริษัทออกมาคุยโม้ไว้หรือไม่ ถ้าบอกจะขยายธุรกิจแต่ในบัญชีมีหนี้สินพะรุงพะรังแบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าเราดูแต่อดีตผลงานดีมาก แถมปัจจุบันการเงินก็มั่นคง แต่ไม่ได้วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต เราอาจจะได้หุ้นแกร่งแต่อยู่ในช่วงถดถอยก็ได้ (หากแนวโน้มตลาดไม่โต) ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นราคาหุ้นก็จะไม่ไปไหน บางทีถือกันจนเหนื่อย วิเคราะห์หุ้นโดยดูแนวโน้มในอนาคต จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ดูแนวโน้มตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภค ในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจลงทุนอยู่ ซึ่งมันจะบอกได้ว่า บริษัทจัดอยู่ในประเภทไหน โตช้า ปานกลาง หรือโตเร็ว การดูแนวโน้มตลาด ลองวิเคราะห์หาข้อมูลดูว่า ตลาดในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจ (จะซื้อหุ้น) ลงทุนอยู่ มีแน้วโน้มเติบโตไปเรื่อยๆ หรือไม่ หรือว่าตลาดอิ่มตัวแล้ว ถ้าตลาดมีแน้วโน้มโตได้อีก แบบนี้ หุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดนั้นๆ ก็น่าจะสามารถโตได้เช่นกัน พฤติกรรมผู้บริโภค เราต้องไปดูแน้วโน้มใหญ่ๆ (Mega Trends) ว่าเป็นไปในแนวทางไหน เช่น คนรุ่นใหม่ใช้อินเตอร์เนตเพิ่มขึ้น คนชอบความสะดวกและเข้าร้านสะดวกซื้อมากขึ้น สังคมบ้านเรามีผู้สูงอายุมากขึ้น รถยนต์เพิ่มมากขึ้นจากโครงการรถคันแรก เป็นต้น จากนั้น เราก็ดูว่าบริษัทได้ออกแบบธุรกิจ เพื่อรองรับกับพฤติกรรมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่ ถ้าบริษัทจับเทรนได้ หุ้นของก็จะเติบโตได้เร็ว และแน่นอนว่ามันจะทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้อีกมากมายมหาศาล เลยทีเดียว การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน PE คืออะไร? หุ้นที่มี P/E ratio สูง หมายถึง ว่าเรายอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อหุ้นตัวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอีกตัวนึงที่มี P/E ต่ำกว่า ดังนั้นหลายคนมักจะบอกว่า หุ้นที่มี P/E ratio สูงๆ คือหุ้นที่แพง และหุ้นที่มี P/E ratio ต่ำๆ คือหุ้นที่ถูก ดังนั้น การซื้อหุ้นที่มีราคาถูก น่าจะมีโอกาสกำไรมากกว่าซื้อหุ้นที่แพง เช่น หากหุ้น A ราคา 60 บาท และมีกำไรต่อหุ้น 5 บาท หุ้น A จะมี P/E ratio 12 เท่า ดังนั้นหากสมมุติว่าหุ้น A ไม่มีหนี้เลยจึงสามารถนำกำไรทั้งหมดมาจ่ายปันผลได้ทั้ง 5 บาท นั่นคือ หุ้น A จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีคือ 5/60 = 8.33% และสมมุติว่าหุ้น A จะสามารถรักษาการทำกำไรได้ปีละ 5 บาทไปเรื่อยๆ จะได้ว่าหากเราลงทุนในหุ้น A จะต้องใช้เวลา 60 / 5 หรือ 12 ปีจึงจะได้ทุนที่ลงไปทั้งหมด 60 บาทคืนมา ดังนั้น P/E จะเปรียบเสมือนระยะเวลาในการคืนทุนของการลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้น B ราคา 60 บาทเท่ากัน และมีกำไรต่อหุ้น 10 บาท หุ้น B จะมี P/E ratio 6 เท่า ถ้าสมมุติในแบบเดียวกันกับหุ้น A จะได้ว่า...
Read More
บิทคอยน์

บิทคอยน์

บิทคอยน์ บิทคอยน์ คืออะไร ? บิทคอยน์ (Bitcoin) คือ สกุลเงินสมมติที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่ขึ้นกับสกุลเงินใด ๆ ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญทั่วไป โดยบิทคอยน์มีหน่วยเงินตราเป็น BTC เหมือน ๆ กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ใช้หน่วยเงินตราเป็น USD สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นที่ใช้ JPY หรือสกุลเงินบาทไทยที่ใช้เป็น THB นั่นเอง ซึ่งบิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2552 และเริ่มถูกนำไปใช้แลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้ากันจริง ๆ ในโลกออนไลน์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บิทคอยน์ถือว่าเป็นเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Cryptocurrency) สกุลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีสกลุเงินอื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกคิดค้นขึ้นมา อาทิ สกุลเงิน Ethereum ที่ใช้ตัวย่อว่า ETH , สกุลเงิน Ripple ที่ใช้ตัวย่อว่า XRP และสกุลเงิน Litecoin ที่ใช้ตัวย่อว่า LTC แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันบิทคอยน์ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด บิทคอยน์ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? บิทคอยน์เกิดจากแนวคิดที่ว่ามีคนต้องการระบบเงินใหม่ที่ไม่ถูกตรวจสอบขึ้นมา จากเดิมที่มีระบบธนาคารกลางเป็นผู้ดูแล และมีหน้าที่กำหนดมาตรฐาน รวมถึงมูลค่าของเงิน ทำให้ธุรกรรมทางการเงินทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่ในสายตาของธนาคารกลางนั้นเอง แต่กระบวนการเหล่านี้อาจจะไม่ค่อยถูกใจบรรดาธุรกิจใต้ดิน เพราะต้องระบุตัวตน เวลาโอนเงินก็ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้ถูกตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้น จึงมีหลาย ๆ คนพยามจะสร้างสกุลเงินใหม่ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารกลาง และเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีโปรแกรมเมอร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโต้ ได้สร้างระบบที่เรียกว่า "Blockchain" ออกมา ซึ่งเป็นระบบเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วของสกุลเงินดิจิทัล จากการปั๊มเงินออกมาเรื่อย ๆ ได้ตามใจชอบ โดยนำระบบการทำงานของอัลกอริทึมมาใช้ แล้วกำหนดปริมาณเงินในระบบไว้ไม่ให้เกิน 21 ล้านหน่วย ทำให้บิทคอยน์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีระบบป้องกันเงินเฟ้อนั่นเอง บิทคอยน์ ขุดยังไง เล่นแล้ว รวยจริงหรือ ? หลังจากที่บิทคอยน์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีหลายคนเริ่มเห็นโอกาสในการทำกำไร ซึ่งก็มีคนที่ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยกับบิทคอยน์ไปไม่น้อยเลยทีเดียว โดยการลงทุนในบิทคอยน์นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้ 1. การขุด (Mining) อย่างที่บอกไปข้างต้น คือ บิทคอยน์ถูกดูแลภายใต้ระบบ Blockchain ที่ทำงานโดยอัลกอริทึม "การขุดคอยน์" อธิบายง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับการที่เราเข้าไปขุดทองในเหมือง แต่แค่เปลี่ยนรูปแบบมาทำในระบบคอมพิวเตอร์แทน โดยจะต้องนำคอมพิวเตอร์ของเราไปเป็นเซิร์ฟเวอร์ให้ระบบบิทคอยน์ใช้ในการเก็บธุรกรรมต่าง ๆ  จึงจะได้รับค่าตอบแทนคือเงินบิทคอยน์ แต่การจะได้ค่าตอบแทนนั้นจะต้องแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ให้ได้ ซึ่งต้องแข่งกับคนอื่น ถ้าทำสำเร็จเราก็จะเป็นเจ้าของบิทคอยน์ที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการขุดนั่นเอง สำหรับความยากง่ายของการขุด ขึ้นอยู่กับจำนวนบิทคอยน์ที่เหลืออยู่ในระบบที่ถูกกำหนดสูงสุดไว้ที่ 21 ล้านหน่วย เพราะฉะนั้นยิ่งจำนวนบิทคอยน์เหลือน้อย การแก้สมการก็ยิ่งยากมากขึ้น รวมถึงความแรงของการประมวลผลคอมพิวเตอร์เราด้วยที่ต้องมากขึ้นตามความยากของการขุด ทำให้เราเห็นข่าวเรื่องที่คนหันมาซื้อการ์ดจอแรง ๆ เพื่อมาแข่งกันขุดบิทคอยน์นั่นเอง คอมพิวเตอร์ของใครแรงกว่าก็จะมีโอกาสแก้สมการได้เร็วกว่า ส่วนจำนวนเงินที่ได้จากการขุดถูกกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งช่วงแรกจะได้ครั้งละ 50 BTC โดยจำนวนเงินที่ได้จะค่อย ๆ ลดลงทุก 4 ปี ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้นอ       2. เทรดด้วยสกุลเงินอื่น หากใครที่ไม่มีคอมพิวเตอร์แรง ๆ ไปขุดบิทคอยน์ เราสามารถนำเงินสกุลอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับไปแลกเพื่อเก็งกำไรมูลค่าของบิทคอยน์ได้จากนักขุด โดยมีร้านรับแลกแบบออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ที่ทำหน้าที่เสมือนธนาคาร ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นกับกลไกลการตลาดกำหนด คือ ช่วงเวลาไหนที่ได้รับความนิยมสูง มูลค่าของบิทคอยน์ก็จะสูงขึ้นตาม Bitcoin มีการทำงานอย่างไร เปรียบเทียบสิ่งนี้กับ Torrent ซึ่งเป็นเครือข่าย P2P ที่คุณอาจเคยใช้ในการดาวน์โหลดเพลงมากมายในช่วงต้นปี 2000s เว้นแต่ในเรื่องการเคลื่อนย้ายไฟล์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เครือข่าย Bitcoin สร้างและตรวจสอบบล็อคของข้อมูลที่ถูกแสดงในรูปของเงินเสมือน บิตคอยน์และอนุพันธ์อีกมากมายรู้จักกันในชื่อเงินดิจิทัล...
Read More
ตลาดกระทิง VS ตลาดหมี

ตลาดกระทิง VS ตลาดหมี

กระทิงVSหมี หมี VS กระทิง กระทิงVSหมี โดยทั่วไปภาวะตลาดหุ้น แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตลาดเป็นขาขึ้น หรือที่รู้จักกันดีว่า ตลาดกระทิง (Bull Market) และ ตลาดช่วงขาลง หรือ ตลาดหมี ( Bear Market ) แต่ยังมีตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ตลาดขึ้นไม่มากและลงไม่มาก ไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน (Sideway Market) ตลาดกระทิง (Bull Market) คืออะไร? Bull Market ตลาดกระทิง Bull Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบกระทิง คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Up trend ) แบบชันขึ้นมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ ถือว่าเป็น Bull Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bull Market ได้แน่นอน 100% ตลาดหมี (Bear Market) คืออะไร? Bear Market ตลาดหมี Bear Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบหมี คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Down trend ) แบบชันลงมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ถือว่าเป็น Bear Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bear Market ได้แน่นอน 100% อย่างที่รู้กันว่า ตลาดหุ้น ถือว่าเป็น ตลาดที่มีความผันผวน เป็นอย่างมาก โดยถ้าหากคุณมองดูตลาดในรูปแบบของกราฟ จะเห็นได้ว่า มันมีเส้นพุ่งขึ้น และลงไปตามจังหวะต่าง ๆ กันเราสามารถเรียกภาวะของตลาดเหล่านั้นว่า “ ตลาดกระทิง ( ตลาดขาขึ้น ) ” และ “ ตลาดหมี ( ตลาดขาลง ) ” ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้ ตลาดขาขึ้น คือ ตลาดกระทิง Bull Market เป็นการเรียกตลาดในช่วงขาขึ้น ( โดยเปรียบเทียบกับวัวกระทิง ที่มักจะมองไปข้างบนเสมอ ) มักเป็นภาวะที่เกิดในช่วงเศรษฐกิจแข็งแรง หรือช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น อัตราการว่างงานจึงต่ำ นักลงทุนมักให้ความเชื่อมัน เข้ามาลงทุน ในภาวะที่ตลาดเป็นช่วงกระทิง ซึ่งจะทำให้ตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้น ตลาดขาลง คือ ตลาดหมี Bear Market ตรงกันข้ามกับตลาดกระทิง ตลาดหมี คือ ตลาดในภาวะขาลง ( เปรียบเทียบกับหมี ที่จะมองลงมาข้างล่างเสมอ ) มักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจอ่อนแอ หรือถดถอย มีอัตราการว่างงานสูง รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อสูงด้วยเช่นกัน ซึ่งสภาวะตลาดหมี มักจะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าลงทุน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับดัชนีตลาดหุ้น ที่ตกลงมากว่า 20% เป็นเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า...
Read More
ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน ตลาดการเงิน เป็นกลไกที่ช่วยให้บุคคลและนิติบุคคล ซื้อและขายหลักทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ ตราสารทุน พันธบัตร สกุลเงิน ตราสารอนุพันธ์  และ สินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าอื่น ๆ ที่มีมูลค่าตามราคาต้นทุน การทำธุรกรรมต่ำ และ ราคาที่สะท้อน ถึงอุปสงค์ และ อุปทาน  ตลาดทั้งสองแห่งเป็น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ( NYSE ) ที่ซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดเฉพาะทางหลายแห่ง เนื่องจากตลาดซื้อขาย ฟอแร็กซ์ มีการซื้อขายนับล้านดอลลาร์ ต่อวัน ราคาหุ้นที่ซื้อขาย ในตลาดการเงินอาจแตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ เนื่องจาก ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น ภาษีอากร เป็นต้น นอกจากนี้ ความโปร่งใสของบริษัท ที่ปล่อยออกมามีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาหลักทรัพย์ โครงสร้างตลาดการเงิน ตลาดตราสารทุน ตลาดการเงินที่ช่วยให้นักลงทุน ซื้อและขายหุ้น ในบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ได้เรียกว่าตลาดหุ้น คำว่า "หุ้น" หมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ กรรมสิทธิ์ในบริษัท มีตลาดหุ้นสองประเภท คือตลาดหลัก ที่บริษัทเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป และ ตลาดรอง ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ ที่มีอยู่จะถูกซื้อและขาย โดยนักลงทุน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข่าว และปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัทที่จดทะเบียน  ตลาดทุน มีสภาพคล่อง และซับซ้อน เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดการเงินอื่น ๆ ตลาดรองตราสารทุน ตลาดนอกระบบ ( OTC ) เป็นตลาดแบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีสถานที่ตั้งหลักทางกายภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมตลาดจะซื้อขายกันเอง โดยใช้รูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ ระบบอีเมล และ ระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ ตลาดนอกระบบ OTC และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือสองวิธีพื้นฐานในการจัดตลาดการเงิน  ในตลาด OTC ตัวแทนจำหน่ายทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในตลาด โดยการกำหนดราคาที่จะซื้อและขายหลักทรัพย์ หรือ สกุลเงิน  การค้าสามารถดำเนินการได้โดยระหว่างสองผู้เข้าร่วมในตลาด OTC โดยที่ผู้อื่นไม่ทราบราคาที่ได้รับผลกระทบ จากการทำธุรกรรมดังกล่าว   ตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ คือตลาดสำหรับพันธบัตรทุกประเภท และสถานที่ซึ่งองค์กรต่าง ๆ จะได้รับเงินกู้จำนวนมาก โดยทั่วไปเมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง  พันธบัตรมีอยู่หลายประเภทได้แก่  พันธบัตรตั๋วเงิน คลังพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และ พันธบัตรเทศบาล ตัวอย่างหนึ่ง ของพันธบัตรอาจเป็นหุ้นกู้ก็ได้ ตลาดเงิน ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดเหล่านั้นที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงิน ที่มีการครบกำหนดในระยะเวลาสั้น ๆ  ตลาดเหล่านี้ ช่วยให้ทั้งบริษัท และรัฐบาล สามารถเอาชนะปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นได้ หากมีสภาพคล่องส่วนเกินในรูปของเงินสดแล้ว เราสามารถซื้อได้ในตลาดเงิน และในช่วงที่สภาพคล่องสามารถขายหลักทรัพย์ระยะสั้นที่ไม่ได้ใช้งานได้กับบริษัท หรือ รัฐบาลที่อยู่ในตลาดเงิน ตั๋วเงินคลัง  ตราสารพาณิชย์  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง เงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน เป็นเครื่องมือบางประเภทที่มีการซื้อขายในตลาดเงิน ตลาดตราสารอนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือทางการเงิน ที่เกิดจากมูลค่าของสินทรัพย์อื่นซึ่งจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง  ตราสารอนุพันธ์ อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน และเป็นนวัตกรรมมากที่สุดและนั่น เป็นเหตุให้เกิดการเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นจำนวนมาก ในตราสารอนุพันธ์ และปริมาณธุรกรรมรายวันที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์มากกว่าล้านล้านดอลลาร์  ฟอร์เวิร์ด ฟิวเจอร์ ออปชั่น และ สวอป เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ใช้ในตลาดอนุพันธ์  ตลาด Forex ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก สกุลเงินต่างๆอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว และซื้อขายกันเป็นคู่ ๆ เสมอ ตลาด Forex ทำงานเกือบตลอดทั้งวันที่มีปริมาณมหาศาลเงินประมาณ 5.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน Forex เป็นตลาดที่ไม่ต้องสั่งซื้อซึ่งตลาดนอกระบบนี้ดำเนินธุรกิจผ่านทางโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นต้น ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ธนาคารพาณิชย์...
Read More
ประเภทของหุ้น

ประเภทของหุ้น

ประเภทของหุ้น 1.หุ้นสามัญ (Common Stock) ประเภทของหุ้น สามัญเป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชน จำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญ จะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียง ลงมติ ในที่ประชุม ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจ ในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ หุ้นสามัญ ตราสารทุน ที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้น ๆ การถือหุ้นสามัญ เป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลาย หรือ เลิกกิจการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะมีเครื่องหมาย - (ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น กำหนดให้ ZZZ คือหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด ZZZ-W คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (วอแรนต์) ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด (บริษัทเป็นผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์เอง)ZZZ-F คือหุ้นสามัญ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-P คือหุ้นบุริมสิทธิ์ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-Q คือหุ้นบุริมสิทธิ์ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-C คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด ที่ออกโดยบุคคลที่สาม ที่ผ่านมาบุคคลที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ดังกล่าว คือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ประเภทของหุ้นสามัญแบ่งตามกลุ่มการลงทุน หุ้นบลูชิป (Blue-chip stock) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high risk, high return ตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้นIncome stock หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดGrowth stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่มักจ่ายเงินปันผลต่ำCyclical stock หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัว หดตัวตามวงจรของเศรษฐกิจDefensive stock หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด หรือหุ้นที่มีค่าเบต้าติดลบLarge-cap stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 4,400 ล้านบาท เช่น หุ้นใน SET50 indexMidcap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดอยู่ระดับกลางระหว่าง 540 -4,400 ล้านบาทSmall-cap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 540 ล้านบาท นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญ ยังมีสิทธิได้รับเงินปันผล เมื่อบริษัทมีผลกำไร และ มีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ตามศักยภาพของบริษัท รวมถึง มีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุน หรือ จัดสารใบสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น ข้อดี หุ้นสามัญ1. ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 2. จำหน่ายง่าย เพราะ มีอัตราตอบแทนสูงกว่า หุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้3. มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม ข้อเสีย หุ้นสามัญ1. มีผลตอบแทนไม่แน่นอน2. ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นสามัญ สูงกว่าหุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้ 2.หุ้นบุริมสิทธิ...
Read More
ความรู้เกี่ยวกับหุ้น

ความรู้เกี่ยวกับหุ้น

ความรู้เกี่ยวกับหุ้น ความรู้เกี่ยวกับหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand SET) ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่าง ๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หุ้น คือ หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัท ราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตามผลประกอบการของบริษัท และ ภาวะตลาด พูดกันง่าย ๆ หุ้น ก็คือ สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการ ยกตัวอย่าง เช่น หากเราลงเงินกับเพื่อนคนละครึ่ง เพื่อเปิดร้านกาแฟ เราจะมีสิทธิ์ในกิจการร้านกาแฟครึ่งหนึ่ง สิทธิ์นี้เองที่เรียกว่าหุ้น ซึ่งอีกความหมายก็แปลว่าหุ้นส่วนนั้นเอง การเล่นหุ้น หรือ การลงทุนในหุ้น คือ การซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในการซื้อขายหุ้นนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ตลาด คือ ตลาดแรก และ ตลาดรอง การซื้อขายในตลาดแรก หรือ การซื้อขายหุ้น IPO (Initial Public Offering) เกิดจากการที่บริษัทต้องการระดมทุน จากนักลงทุนเพื่อขยายกิจการ โดยราคาหุ้นจะถูกกำหนดไว้ให้นักลงทุนมาจับจอง ในการซื้อหุ้น IPO นั้นจะต้องจองซื้อผ่านผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หรือ ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้ง ส่วนการซื้อขายหุ้นหลังจากนั้น จะเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดรอง ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จะเปลี่ยนแปลงตามผลการดำเนินการของบริษัท และ สภาวะตลาด ตามหลักของ demand supply นักลงทุนมีหลายประเภท 1. นักลงทุนสาย Fundamentals คือ กลุ่มที่เลือกซื้อหุ้นโดยพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน ผลการดำเนินงานบริษัท ให้ความสำคัญกับการอ่านงบกำไรขาดทุน งบดุล และ งบกระแสเงินสด รอจังหวะเข้าซื้อหุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม แล้วรอขายเมื่อราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริง โดยระหว่างทางก็เก็บเงินปันผลไปเรื่อย ๆ 2. นักลงทุนสาย Technical Analysis จะเน้นดูกราฟราคาย้อนหลัง ร่วมกับเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เพื่อหาสัญญานในการเข้าซื้อ และ จุดขายทำกำไร ส่วนเราจะเป็นนักลงทุนสายไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การลงทุน และ นิสัยส่วนบุคคล สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย NP (Notice Pending) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียน NR (Notice Received) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการชี้แจงข้อมูลหรือรายงานจากบริษัทจดทะเบียนที่ขึ้นเครื่องหมาย NP แล้ว และจะขึ้นเครื่องหมาย NR เป็นเวลา 1 วัน H (Trading Halt) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย SP (Trading Suspension) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย XD (Excluding Dividend) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะได้สิทธิในเงินปันผลดังกล่าว จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD XR (Excluding Right) เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนในครั้งนั้นของบริษัท หากผู้ลงทุนต้องการได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน...
Read More
การลงทุนในหุ้น

การลงทุนในหุ้น

การลงทุนในหุ้น ตลาดตราสารทุน ยังคงมีศักยภาพในการเติบโต และสร้างรายได้ ให้กับนักลงทุนในระยะยาว ซึ่งช่วยให้พวกเขา มีส่วนร่วมในผลการดำเนินงาน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในฐานะที่เป็นนักลงทุนชั้นนำ ในตราสารทุน เชิงรุก เราเชื่อว่า การลงทุนในหุ้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท จะผลักดันผลการดำเนินงาน เรามุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรทั่วโลก ในการทำความเข้าใจ กับแต่ละบริษัท และภาคธุรกิจ ที่พวกเขาดำเนินการอยู่ให้ลึกซึ้ง สร้างพอร์ตการลงทุน ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุน สามารถเข้าถึงแนวคิด ที่ดี ทีที่สุดได้ การเล่นหุ้น มีความเสี่ยงมาก ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ มองการลงทุนแบบนักลงทุน Fundamental Analysis หรือ Value Investment ( VI ) ที่เน้นคุณค่าจะคุ้มค่ากว่า เพราะ เป็นการลงทุนระยะยาว ที่เลือกหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี พิจารณาการซื้อขาย จากงบการเงินของบริษัท เลือกจังหวะซื้อจังหวะปล่อย เน้นรายได้จากเงินปันผล จะมีความยั่งยืนกว่า การลงทุนแบบนี้ จะไม่ต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอรอขายตลอดเวลา ทำกำไรทีเดียวดีกว่า และ วิธีนี้จะไม่วุ่นวายเรื่องเงิน ค่อย ๆ เก็บ ค่อย ๆ สะสมก็สามารถเพิ่มพูนให้พอร์ตใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนเรียกว่าเป็นการใช้เงินทำงานได้จริง ๆ การเล่นหุ้น มีโอกาสทำเงินได้มากถึง 12 % ต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงหลายอย่าง ให้ต้องคำนึงถึง ดังนั้น ขอแนะนำ ให้เลือกลงทุนระยะยาว กับหุ้น หรือ จะเลือกลงทุนใน SME ที่มีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และ มีความเสี่ยงน้อยกว่า กำไรจากการซื้อขาย ( Capital Gain ) ความหมายตรงตัว คือ การซื้อและขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ จะกำไรถ้าขาย เมื่อราคาหุ้นแพงกว่าราคาซื้อ แต่ถ้าซื้อตอนที่ราคาสูงที่สุด และปล่อยขายไม่ได้จะมีศัพท์น่ารัก ๆ เรียกว่า “ติดดอย” ให้ช้ำใจเล่น ๆ การเล่นหุ้น มักจะอยู่ตรงนี้เอง คือ ทำยังไงให้ซื้อขายถูกเวลา เป็นการลงทุนระยะสั้น ได้ผลตอบแทนเร็ว และ ความเสี่ยงสูง นักลงทุนที่เลือกจะเล่นกับส่วนต่าง การซื้อขาย คือนักลงทุนประเภท Technical Analysis ซึ่งจะต้องหูตาไว สังเกตการเปลี่ยนแปลงของตลาด และ ใส่ใจกระแสข่าวรอบตัวอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถซื้อขาย ได้ทันเวลา นักลงทุนประเภทนี้ จะไม่เน้นเงินปันผล หรือ ถือหุ้นไว้ในมือ เป็นเวลานาน เพื่อให้มีโอกาสลงทุนในหุ้นตัวใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเสมอ  กำไรจากการปันผล ( Dividend ) คือกำไรส่วนหนึ่ง ที่ถูกแบ่งออกมา ให้ผู้ถือหุ้นจากมติของกรรมการ ของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผลกำไรทั้งหมด ของบริษัทก็ได้ และ จะปันผลปีละกี่ครั้งก็ได้ เหมือนกัน แต่ละบริษัทจึงมีการปันผลหุ้นไม่เท่ากัน ถ้าหุ้นที่ถืออยู่เป็นหุ้นที่บริษัทมีพื้นฐานดี มีกำไรสม่ำเสมอ หุ้นนั้นก็จะทำกำไรได้ยาว ๆ การลงทุนในหุ้นจะอยู่ตรงนี้ คือเป็นการลงทุนระยะยาว อยู่นิ่ง ๆ รอเงินปันผล นักลงทุนที่เน้นหุ้นลักษณะนี้คือนักลงทุนประเภทเน้นคุณค่า ( Value Investing ( VI ) ) ซึ่งจะไม่ตื่นเต้น กับราคาขึ้นลงในตลาดมากนัก เพราะ สิ่งที่นักลงทุนกลุ่มนี้สนใจคือ ผลตอบแทนระยะยาว วิธีลงทุน...
Read More