
รู้จักตลาดหุ้นไทย กับเรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้
รู้จักตลาดหุ้นไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหุ้น (Stock exchange of Thailand) เป็นศูนย์กลางเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ถูกตั้งขึ้นโดย พรบ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 โดยภายหลังได้มีการแก้ใขกฎหมาย ทำให้การดำเนินการของตลาดหุ้นนั้นอยู่ภายใต้ พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 แทน และในกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดให้มีหน่วยงานควบคุมดูแลตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์คือหน่วยงานที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่าง ๆ ที่สามารถประกาศขายหุ้นของตนเองให้กับบุคคลภายนอกได้ (หรือที่เรียกว่าบริษัทมหาชน) จะไม่ได้มีอิสระในการบริหารและดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทธรรมดาที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น แต่การบริหารบริษัทรวมถึงการจัดการงบประมาณต่างๆต้องทำอย่างเปิดเผย และหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในบริษัท เช่น บริษัทประสบความเสียหายอย่างรุนแรง
เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ หรือกรณีอื่น ๆ ที่จะกระทบต่อราคาหุ้น จะต้องรายงานเหตุแก่ กลต. เพื่อที่จะได้แจ้งให้ประชาชนได้ทราบต่อไป นอกจากนี้ยังมีเงื่อนใขอื่นอีกมากมายที่บังคับให้บริษัทมหาชนปฏิบัติ เพราะฉะนั้นประชาชนอย่างพวกเราสามารถมั่นใจได้ว่าการซื้อหุ้นหรือการลงทุนที่ดีกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งปะเทศไทยนั้นมีความปลอดภัย และยุติธรรมกับผู้ลงทุนอย่างเราแน่นอน
คำว่า “หลักทรัพย์” ที่ทำการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์นั้นคนทั่ว ๆ ไปจะนึกถึงแต่หุ้นอย่างเดียวแต่หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายกันได้นั้นมีอีกหลายชนิดมาก เช่น ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล หมายถึง เอกสารสัญญาที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะมอบให้แก่ผู้ซื้อ และเราสามารถเอาไปขายกลับให้แก่รัฐได้โดยจะได้ดอกเบี้ย (เป็นวิธีการที่รัฐกู้เงินจากประชาชนเพื่อเอาไปบริหารงานต่าง ๆ ของภาครัฐ)
หุ้นกู้ หมายถึง เอกสารสัญญาที่คล้ายกับพันธบัตรรัฐบาลแต่เป็นการที่บริษัทเอกชนออกมาให้นักลงทุนได้ซื้อไป โดยจะมีส่วนต่างให้ตอนขายคืนเช่นกัน (ที่เรียกว่าหุ้นกู้ เพราะว่าบริษัทจะแบ่งยอดเงินที่ต้องการจะกู้ออกเป็นส่วน ๆ เช่น
ถ้าต้องการเงิน 100 ล้านบาท อาจจะออกหุ้นกู้ 1 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น) โดยหลักทรัพย์ลักษณะแบบพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้นี้เราจะเรีบกกันว่าตราสารหนี้ แต่หุ้นทั่ว ๆ ไปนั้น เราจะเรียกกันว่าตราสารทุน
นอกจากนั้นยังใบสำคัญเอกสารแสดงสิทธิอีกอย่างที่เรียกว่า อนุพันธ์ หรือ วอแรนท์ (warrant) หมายถึงเอกสารแสดงสิทธิในการที่จะให้นักลงทุนมีสิทธิทำอะไรต่าง ๆ เช่น ให้สิทธิในการซื้อหุ้นเมื่อจะมีการออกหุ้นเพิ่มเติม (คล้าย ๆ กับสิทธิการจอง) โดยวอแรนท์พวกนี้ก็สามารถนำมาซื้อขายกันได้ในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ถือได้ว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) โดยถ้าจะเอาให้เข้าใจอย่างดีสุดนั้นผู้อ่านอาจจะต้องกลับไปอ่านบทความก่อนหน้าเพื่อทำความเข้าใจการเกิดขึ้นมาของหุ้นก่อน แต่ที่จะเล่าตรงนี้สั้น ๆ ก็คือ
เมื่อบริษัทที่จะขายหุ้นให้แก่ประชาชนได้รับอนุญาตจาก กลต.ให้นำหุ้นออกขายแล้วหุ้นนั้นไม่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เลยโดยตรง แต่จะต้องมีการขายครั้งแรกก่อน โดยคนจะเรียกการขายครั้งแรกนี้ว่า IPO หรือ Initial Public Offering (ตลาดแรก) ซึ่งผู้ที่จะซื้อต้องเข้าไปซื้อโดยตรงกับบริษัทที่ขายหุ้น จากนั้นผู้ที่ซื้อหุ้นโดยตรงมาจากบริษัทถึงจะนำหุ้นมาขายต่อกันที่ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดรอง
เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าพวกโบรกเกอร์หรือบริษัทนายหน้าค้าหุ้นต่าง ๆ นั้นมีต้นทุนมากและมีช่องทางการนำหุ้นไปขายต่อมาก จึงทำให้มีอำนาจต่อรองกับบริษัทที่นำหุ้นออกมาขายครั้งแรก โดยธรรมเนียมการปฏิบัติในไทยเรานี้ หุ้น ipo ส่วนหนึ่งจะถูกขายให้พนักงานหรือบุคคลภายในบริษัทที่ต้องการซื้อ
และส่วนที่เหลือ บริษัทโบรกเกอร์ใหญ่ๆจะร่วมกันเหมาหุ้นมาเลยทีเดียวจากนั้นค่อยนำมาขายในตลาดรองอย่างตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งก้เป็นสิทธิของบริษัทที่ต้องการขายหุ้นให้ทำได้ ส่วนราคาขายครั้งแรกนี้ นักลงทุนจะเรียกกันย่อ ๆ ว่า ราคาIPO
การจะซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นกฎหมายกำหนดให้จะต้องทำผ่านโบรกเกอร์ เนื่องจากการจะซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เรากดซื้อกดขายกันผ่านคอมพิวเตอร์บ้าง มือถือบ้างนั้น มันยังมีเรื่องของเอกสารสัญญาต่าง ๆ เบื้องหลังที่เราไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ เราก็เพียงเห็นแต่ว่ากดปุ๊บ หุ้นก็เข้ามาอยู่ในพอร์ตเราเลย
รู้จักตลาดหุ้นไทย กับเรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้
ในส่วนของเอกสารต่าง ๆ หรือการดีลซื้อขายหุ้นนี่แหละ ที่เป็นหน้าที่ที่โบรกเกอร์จัดการดำเนินความสะดวกให้เรา เพราะฉะนั้นการที่เราจะเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะต้องไปสมัครสมาชิกกับโบรกเกอร์ก่อน โดยในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายมาก ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยที่ตัวเราไม่ต้องไปธนาคาร หรือไปที่บริษัทโบรกเกอร์เลย
การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็จะเป็นไปอย่างอิสระ หากเราสนใจหุ้นตัวใดก็สามารถกดข้อมูลขึ้นมาดูได้ จะมีรายละเอียดบอกคือ ตอนนี้มีคนเสนอซื้อหุ้นตัวนี้อยู่ในราคาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และมีคนเสนอซื้ออยู่ในราคาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ เช่นกัน โดยราคาของสองฝั่งนี้จะไม่เท่ากัน เนื่องจากถ้ามันเท่ากันเมื่อไหร่ ตลาดหุ้นก็จะจับคู่ระหว่างคนเสนอซื้อกับเสนอขายนั้นเพื่อซื้อขายกัน
ข้อที่ควรรู้อีกอย่างก็คือใน SET นั้น จะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อเก็บและแสดงสถิติแยกกับภาพรวม เช่น กลุ่ม SET50 (บริษัทที่มีขนาดใหญ่ 50 อันดับแรก) SET100 (บริษัทที่มีขนาดใหญ่ 100 อันดับแรก) ซึ่งบริษัทพวกนี้แหละที่เป็นที่นิยมในการซื้อขายและราคาของบริษัทพวกนี้มีผลอย่างยิ่งต่อดัชนีดดยรวมของราคาตลาดหุ้นทั้งหมด
นี่เป็นรายละเอียดข้อควรรู้คร่าว ๆ เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์...