พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) กระแสของการออม เพื่อให้เงินงอกเงย ดีกว่าเก็บแช่เป็นเงินเย็น ที่ไม่ได้ผลิดอกออกผล  จนทำให้ มนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลาย หาหนทางให้เงินที่หามาได้นั้น เพิ่มพูนขึ้น และเป็นที่มาของการนำเงิน ไปลงทุนในหลาย ๆ รูปแบบที่สถาบันการเงินต่างนำเสนอ ทั้งการฝากประจำปลอดภาษี ที่ได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากประจำทั่วไป แถมยังปลอดภาษีอีกด้วย หรือจะเป็นการลงทุนในหุ้นที่แม้ตอนนี้ จะมีความผันผวนสักหน่อยแต่ก็ยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่นักลงทุนนิยมกัน ในขณะที่อีกหลายคนก็ขอเลือกลงทุนในกองทุนรวม ที่มีนำเสนอให้เลือกลงทุนตั้งแต่ระดับความเสี่ยงต่ำ ไปจนถึงความเสี่ยงสูง  แต่ยังมีอีกรูปแบบการลงทุนหนึ่งที่อยากจะแนะนำ นั่นคือ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทำความเข้าใจก่อนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สำหรับใครที่กำลังเล็ง ๆ อยู่ว่าจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลดีไหม มาทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน ว่าพันธบัตรรัฐบาลคืออะไร ตราสารหนี้รัฐบาล ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ผู้ซื้อหรือนักลงทุน มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ที่ได้รับการชำระหนี้และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล จากลูกหนี้คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้น ๆ จะเห็นว่า การลงทุนในพันธบัตรนั้น จะเข้าใจได้ง่ายตรง ๆ ไม่ซับซ้อน เข้าใจยากเหมือนการลงทุนแบบอื่น ๆ แล้วทำไมพันธบัตรรัฐบาล ถึงน่าลงทุน เพราะว่าความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หาย ได้รับผลตอบแทนดีกว่า ฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำ  ได้รับผลตอบแทน เป็นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากำหนด ระยะเวลาลงทุน ไม่นานมาก เช่น 3 ปี 5 ปี 7 ปี เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น ซื้อพันธบัตรมาเก็บไว้ จนถึงเวลาที่ต้องไถ่ถอน ตามกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยรายปี ปีละประมาณ 3% แต่อย่างที่บอกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน ดังนั้น ก็ยังคงมีความเสี่ยงและเงื่อนไขการลงทุนที่ต้องศึกษาอยู่ดีครับ เรามาค่อย ๆ ดูกันว่ามีอะไรบ้าง ประเภทของพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรตั๋วเงินคลัง มีความมั่นคงสูงที่สุด เพราะออกโดยกระทรวงการคลัง ความเสี่ยงจึงมีน้อย แต่ก็จะได้รับผลตอบแทนต่ำ ตามไปด้วย ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย แต่ใช้วิธีขายต่ำกว่าเพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ระยะเวลาไถ่ถอน ไม่เกิน 1 ปี และไม่ได้รับดอกเบี้ย พันธบัตรตั๋วสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ออกโดยสถาบันการเงิน เพื่อระดมทุนช่วยเหลือ ฟื้นฟูกองทุน และพัฒนาสถาบันการเงิน มีความเสี่ยงมากกว่า ตั๋วเงินคลัง ให้ผลตอบแทน ด้วยวิธีขายต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนคืนเต็มราคา ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 6 เดือน และไม่ได้รับดอกเบี้ย พันธบัตรรัฐบาล เราคุ้นเคย กับพันธบัตรประเภทนี้มากที่สุด ที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อระดมทุนไปใช้ในการบริหารประเทศ ลดการขาดดุล ทางการเงิน ถือเป็นตราสารหนี้ระยะยาว ระยะเวลาไถ่ถอน มากกว่า 1 ปี และได้รับ ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นการซื้อพันธบัตร เพื่อออมทรัพย์ โดยจะขายให้กับบุคคลทั่วไป และองค์กรไม่แสวงหากำไร ในสังกัดของรัฐบาล ระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปี ขึ้นไป และได้รับ ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง สิ่งที่ต้องแบกรับ ความเสี่ยง...
Read More
3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่

3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่

3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่ 3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่ การซื้อหุ้น สำหรับมือใหม่ เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง น่าปวดหัวเพราะมีตัวเลขเยอะ กระพริบไปมาเต็มไปหมด บทความนี้ จะนำเอา 3 สเต็ปการซื้อหุ้น สำหรับมือใหม่หัดเล่น มาให้ได้ศึกษากัน เราสามารถทดลองเล่นหุ้น ได้ก่อนที่จะลงทุนจริง ได้ตามเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เปิดให้ทดลองเล่น แถมยังมีเครดิตให้อีกด้วย ยกตัวอย่าง Click2Win เป็นเว็บไซด์ ที่ทุกอย่างเหมือน ตลาดหุ้นจริง จำลองมาไว้ให้ได้ทดลองเล่นกัน การที่เราจะซื้อหุ้น ทั้งทีต้องศึกษา หาข้อมูลให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะการลงทุนทุกอย่าง มีความเสี่ยง 3 สเต็ปมีอะไรบ้าง มาดูกัน 1. ต้องเปิดบัญชี ก่อนที่ซื้อหุ้น เป็นขั่นตอนแรกเลยสำหรับการ ซื้อ-ขาย หุ้น 2. สามารถเล่นผ่านมือถือได้ สะดวกด้วย เราสามารถ ซื้อ-ขาย หุ้นผ่าน Application ได้แล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะใช้ Application ที่ชื่อว่า Streaming ในการซื้อหุ้น สามารถโหลดได้ทั้ง Google Play แล้ว App Store สะดวกและง่ายมาก หลังจากที่โหลด Application เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถสร้าง Account ได้เลย เท่านี้ก็พร้อมที่จะ ซื้อ-ขาย หุ้นกันแล้ว 3. เข้าไปที่เว็ปไซด์ของ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ เพื่อศึกษาว่า ตัวไหนที่สามารถซื้อได้ จะมีลิสต์ ชื่อหุ้น ต่าง ๆ ให้ดู แถมยังดูแยกตาม อุตสาหกรรมที่สนใจได้ด้วย เช่น สนใจหุ้น AIS ชื่อเต็มคือ Advance Info Service ชื่อหุ้นก็คือ ADVANC เป็นต้น เมื่อหาชื่อหุ้นไม่เจอก็สามารถเปิดดูจาก เว็ปไซด์ของ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ เมื่อรู้ชื่อหุ้นแล้ว ก็เข้า Application Streaming แล้วพิมพ์ชื่อหุ้น ที่จะ ซื้อ-ขาย ได้เลย ใส่จำนวนราคา ที่ต้องการไว้ แล้วถ้ามีคนยินดีขายให้ ตามราคาที่ใส่ไว้ ก็จะเกิดการ Match หุ้นก็จะเข้ามาอยู่ในพอร์ต การซื้อขายหุ้นทุกครั้งอย่าลืมตอบให้ได้ว่า ซื้อทำไม แล้วจะขายเมื่อไหร่ ทั้งในกรณีที่มีกำไร และกรณีที่ขาดทุน เป็นคำถามพื้นฐานของคนเล่นหุ้นที่ต้องรู้ นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหุ้นได้ ตามหนังสือ หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือศึกษาจาก นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ มีมากหมายหลายช่องทาง ให้ไปศึกษา ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำเช่นกัน หรืออาจจะไปทดลองเล่นตามเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เปิดให้ทดลองเล่น ก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับมือใหม่อีกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนในหุ้น จะต้องตระหนักถึง ความเสี่ยง ในการลงทุนเสมอ เพราะไม่มีอะไรจะเป็นหลักประกัน ได้ว่าการลงทุนในหุ้น จะต้องให้ผลตอบแทนที่สูง กลับคืนแก่ผู้ลงทุนเสมอไป ผลตอบแทนที่ได้รับ อาจจะสูงหรือต่ำ หรืออาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลยก็ได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเลือก ทางเลือกการลงทุนที่สอดคล้อง กับระดับการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน หากกลัวความเสี่ยงมาก ก็ควรเลือกลงทุน ที่มีความเสี่ยงในระดับที่ไม่สูงนัก และยอมรับระดับอัตราผลตอบแทนที่ไม่สูงเช่นกัน แต่หากผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ก็อาจจะเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงจากตัวของเราเอง เป็นความเสี่ยงที่ ถือว่าเป็น ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการลงทุน เลยก็ว่าได้ เพราะคนส่วนใหญ่นั้น มักที่จะมองเห็นหรือรู้จัก จุดอ่อนภายนอกมากกว่าภายในจิตใจตนเอง แทบทั้งนั้น...
Read More
กองทุน LTF และ RMF

กองทุน LTF และ RMF

กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จัก กับกองทุนทั้ง 2 แบบอย่างกว้าง ๆ เริ่มจาก กองทุน LTF มีกองทุนรวมเพียงประเภทเดียว คือ กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนกองทุน RMF นั้น มีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือก เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว คือกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร เมื่อลงทุนระยะยาวจนครบระยะเวลากำหนดซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรอบระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน ในขณะที่ RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาวไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ โดยผู้ที่ลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีคล้ายคลึงกับ LTF แต่ RMF จะมีกรอบระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานกว่า คือจะถอนเงินลงทุนได้เมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีและถือหน่วยการลงทุนมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังต้องทยอยลงทุนทุกปีโดยหยุดลงทุนได้ไม่เกินปีเว้นปี สรุปภาพรวม คือ LTF และ RMF คือกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีแถมมากับการลงทุนด้วย ดังนั้น กองทุนรวมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาก เพราะนอกจะได้ลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ทางภาษีและลาภต่อที่สองอีกด้วย วัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุน LTF สนับสนุนการลงทุนระยะยาว ผ่านกองทุนรวม และส่งเสริมตลาดหุ้นไทย RMF สนับสนุนให้ออมเงิน ไว้ใช้ในยามเกษียณ นโยบายและเงื่อนไขการลงทุน LTF เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีความเสี่ยงสูง จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เมื่อลงทุนแล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษี กำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจาก เงินลงทุนที่ขายคืนนั้น RMF มีความหลากหลาย ความเสี่ยงมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ นโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ครบถ้วน เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด LTF ไม่มีกำหนดขั่นต่ำ แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี RMF ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้หรอืไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สิทธิประโยชน์ทางภาษี LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ต้องอายุ 55 ปีถึงจะสามารถขายคืนได้ ความต่อเนื่องในการลงทุน LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน...
Read More
การลงทุนแบบ DCA

การลงทุนแบบ DCA

การลงทุนแบบ DCA การลงทุนแบบ DCA เวลามีเงินเหลือเก็บ ก็อยากจะหาทางเลือก ให้กับเงินของเราอยากให้มัน “งอกเงย” วิธียอดนิยมก็คือ เก็บไว้เป็นเงินฝากออมทรัพย์ แต่ว่าดอกเบี้ยมันช่าง ต่ำเตี้ยเหลือเกิน หากจะมาลงทุน ในหุ้นก็ดูจะเสี่ยง แต่โอกาสที่ผลตอบแทนจะสูงกว่า การฝากเงินกินดอกเบี้ยก็มีอยู่ จะมีหนทางตรงกลาง ที่ไม่เสี่ยงมากแต่ได้ผลตอบแทน คุ้มค่าหรือไม่ ? คำตอบก็คือ “มี” หนทางนั้นก็คือ การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) มาดูกันว่า DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร ? และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ? พร้อมแล้วมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน D C A ชื่อเต็ม ๆ คือ (dollar-cost averaging) นั้นคือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้น ๆ ว่า DCA ซึ่งการลงทุน แบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่จะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้ จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป เป็นการลงทุน แบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน ที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุน โดยซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม หรือหุ้น ด้วยวิธี DCA จะทำให้เรา สามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้น หากราคาหุ้นปรับ ตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลง ในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาหุ้น หรือ ของกองทุนที่ต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียด ลงไปได้มาก ข้อดีของการกระจายการลงทุน อย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้น มีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง จะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า วิธีที่ซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถ เอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุด ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่ง ที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาทโดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถ จำลองโอกาสที่จะเกิดขึ้น ดังต่อไป จากตาราง จะเห็นว่า หากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย แกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท จะได้ต้นทุน 9.67 บาท ต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาท ต่อหุ้น โดยจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากซื้อหุ้นทีเดียว เมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน...
Read More