อนาคตของหุ้นไทย

อนาคตของหุ้นไทย

อนาคตของหุ้นไทย อนาคตของหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยสิ้นสุดยุคที่น่าสนใจแล้วหรือไม่ หลังจากต้นเดือนเมษายน ดัชนีหุ้นไทย rebound กลับขึ้นมายืนเหนือ 1,200 จุดได้อีกครั้ง ผลจากการชะลอของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ผสานกับมาตรการการเงินและการคลังทั่วโลก แต่นักลงทุนยังคงเกิดคำถามดังกล่าวขึ้น สองสามปีมานี้ หุ้นไทยต้องเผชิญกับเหตุการณ์ทางลบมาหลายๆ เรื่อง และที่หนักที่สุดก็คือเรื่องวิกฤตโควิดโลกที่หนักกว่าทุกๆ เรื่องก่อนหน้านี้รวมกัน ราคาหุ้นไทยจึงไหลดิ่งลงมาอย่างยาวนาน และแม้ว่าต้นเดือนเมษายน ผลจากการที่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มชะลอการเพิ่มรายวัน บวกกับสารพัดมาตรการการเงิน และการคลังของทั่วโลก สามารถทำให้ดัชนีหุ้นไทย rebound กลับขึ้นไปอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ยืนเหนือ 1,200 จุดได้อีกครั้ง วิกฤตราคาหุ้น เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งกับตลาดหุ้นไทย ทุกครั้งก็จะกินเวลาระยะหนึ่ง สั้นบ้างยาวบ้าง แตกต่างกันไปตามระดับของปัญหา แต่หลังจากผลกระทบจบลง ราคาหุ้นในปีต่อมาก็มักจะทะยานขึ้นได้แรงเสมอ เช่นหลังจบวิกฤตต้มยำกุ้ง 2541 การจบวิกฤตซับไพร์ม 2551 หรือย้อนไกลไปเมื่อครั้ง วิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย 2533  ก็ตาม หลังวิกฤต ตลาดหุ้นก็มักกลับมาทำกำไรที่ดี พร้อมๆกับเศรษฐกิจฟื้นตัว  ในทุกรอบที่ฟื้นตัว ก็จะเกิดโคตรเซียนรุ่นใหม่ ขึ้นมาเล่าขานความสำเร็จ ในการเข้าเริ่มลงทุนในช่วงที่ราคาตกต่ำตอนวิกฤตทุกครั้งไป ตลาดหุ้นจึงไม่เคยตาย แค่ตกแรงชั่วคราวเท่านั้น การคาดการณ์จุดสิ้นสุดที่แน่นอนทำได้ไม่ง่าย ผู้ลงทุนต้องเกาะติด คิดวิเคราะห์ เกี่ยวกับต้นตอของวิกฤต ซึ่งสำหรับครั้งนี้คือการระบาดของโควิด19 ว่าจะหมดฤทธิ์เมื่อใด  รวมถึงมาตรการการเงินการคลัง ของไทยและทั่วโลก ที่จัดหนักแล้ว อาจมีหนักกว่าเดิม จนถึงระดับหนึ่งก็จะทำให้ตลาดหุ้นฟื้นได้ แล้วตัวเลขเศรษฐกิจค่อยตามมาทีหลัง เพราะตลาดหุ้นเป็น Leading Indicator นำ ในยามเกิดวิกฤตใหญ่ที่ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน มูลค่าของหุ้นย่อมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้ลงทุนต้องวางข้อมูลเดิมก่อนหน้านี้ไป ไม่ว่าจะตัวเลขผลดำเนินงานปีก่อน หรือบทวิเคราะห์เดือนก่อน เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะล้าสมัย ไม่ทันกับพัฒนาการของของวิกฤต ที่อาจแย่ลงมาก หรือดีขึ้นมาก ก็เป็นได้ทั้งสิ้น ใช้ EPS อนาคต ที่ปรับใหม่สดเสมอ ยกตัวอย่างเช่น รอบนี้เริ่มมีผู้คาดการณ์ล่าสุดว่า EPSของตลาดโดยเฉลี่ย จะเหลือเพียง 70 บาท แตกต่างจากของเก่าเมื่อต้นปีที่ 90-100 บาท รวมทั้งหุ้นทุกบริษัท ตัวเลขเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะธุรกิจที่ถูกวิกฤตครั้งนี้ถล่มโดยตรง หุ้นที่เกี่ยวพันกับการท่องเที่ยวเดินทาง ธุรกิจลูกค้าต้องไปแออัดกัน การเล็งหุ้นที่จะเข้าลงทุน ไม่สามารถดูอดีต เพราะอนาคตอาจเป็นหนังคนละม้วน เราต้องคิดวิเคราะห์ไปข้างหน้าว่า 1 ฐานะการเงินของบริษัทแข็งแรงพอจะรองรับผลกระทบจากโควิดจนพ้นการระบาดหรือไม่   โดยเฉพาะหากโควิดยาวนานกว่าที่คิด 2 ผู้บริหารของบริษัทมีวิสัยทัศน์ เฉลียวฉลาด มีแววที่จะสามารถบริหารกิจการผ่านพายุร้ายครั้งนี้ได้หรือไม่ 3 ผลจากเหตุการณ์โควิดครั้งนี้ จะเปลี่ยนแปลงสภาพธุรกิจของบริษัทอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลง  เปลี่ยนไปชั่วคราว หรือเปลี่ยนไปอย่างถาวร ถ้าดีครบทั้ง 3 ประการ หุ้นที่ว่าก็น่าจะอยู่ในจอเรดาร์ของเราได้แล้วครับ ด้วยความที่ข้อมูลอดีตแทบจะต้องวางไว้ข้างๆ แล้วแสวงหาข้อมูลวิเคราะห์ไปข้างหน้า เราจำเป็นต้องดูข้อมูลจากบทวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน ผมขอแนะนำให้มาดูข้อมูลที่สมาคมนักวิเคราะห์ฯได้ขอความร่วมมือจากสมาชิก นำมารวมกันให้ผู้ลงทุนได้ใช้ หลังจากวิกฤตโควิดผ่านพ้นไป หุ้นไทยที่ท่านได้เลือกเฟ้นธุรกิจที่ดีตามแนวทางที่กล่าวข้างต้น ยังน่าจะเป็นความหวังในการออมระยะยาวได้ดีระดับหนึ่ง แม้จะไม่ดีมากเท่าช่วงยุคทองก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่หลักการหนึ่ง ซึ่งผมแนะนำเสมอคือ ต้องกระจายเงินลงทุนในหลายประเภทสินทรัพย์ ป้องกันความไม่แน่นอน นอกจากนั้น ในช่วงข้างหน้า สินทรัพย์ลงทุนต่างๆก็ยังน่าจะผันผวนมากได้อีก คงต้องมีการกระจายจังหวะเวลา ไม่ควรทุ่มเต็มที่ หรือหนีเต็มตัว ในจังหวะเดียวครับ สรุปภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดในวันสุดท้ายของสัปดาห์ในแดนบวกซึ่งเป็นผลมาจากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯได้เปิดเผยตัวเลขอัตราว่างงานในเดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 14.7% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 90 ปี นับตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1930 แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 16% ขณะทีอีกหนึ่งปัจจัยนั้นเป็นผลมาจากการที่นายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีของจีนเผยว่าได้ทพูดคุยกับนายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และ นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และยืนยันว่าทั้งสองประเทศจะยังคงปฎิบัติตามข้อตกลงทางการค้า "เฟสที่ 1"ซึ่งเป็นการยุติกระแสข่าวที่่ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่ โดยให้เหตุผลว่าจีนเป็นต้นเหตุของการระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งกระทบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยหุ้นทุกกลุ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมดโดยหุ้นของ Exxon Mobil เพิ่มขึ้น 4.49%  หุ้นของโบอิ้งเพิ่มขึ้น 3.92% และ หุ้นของ Apple 2.38% ดัชนี ดาวโจนส์ : ตลาดหุ้นนิวยอร์ค ปิดตลาดที่ระดับ 24,331.32 จุด เพิ่มขึ้น 455.43 จุด หรือ 1.91% ดัชนี NASDAQ : ตลาดหุ้นนิวยอร์ค...
Read More
10 หุ้นที่มีแววทำกำไร ไม่สน COVID-19

10 หุ้นที่มีแววทำกำไร ไม่สน COVID-19

10 หุ้นที่มีแววทำกำไร ไม่สน COVID-19 10 หุ้นที่มีแววทำกำไร ไม่สน COVID-19 จากการสำรวจของสื่อต่างๆ ได้สำรวจหุ้นที่ผู้บริหารและนักวิเคราะห์ประเมินกำไรปีนี้ทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลงและการระบาดโควิด-19 พบ 10 บริษัทเข้าเป้า กลุ่มโรงไฟฟ้า-การเงิน นำทีม วงการชี้ธุรกิจยังเป็นขาขึ้น โรคระบาดกระทบจำกัด แต่แนะดูราคาเหมาะสมด้วย ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีต้นเหตุสำคัญคือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ถือว่าสร้างผลกระทบอย่างมากต่อบรรยากาศการลงทุนในช่วงเวลานี้ โดยดัชนีหุ้นไทยในวันแรกของปี (3 ม.ค. 2563) ที่ระดับ 1,595.82 จุด แต่ปัจจุบันดัชนีหลักทรัพย์ลดลงไปแล้วกว่า 450 จุด จึงทำให้นักลงทุนหลายรายเลือกที่จะลดการลงทุน และถือครองเงินสดมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตย่อมมีโอกาส และการลดลงของดัชนีหลักทรัพย์ รวมถึงราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพหลายบริษัท ทำให้หลายต่อหลายคนมองว่าเป็นโอกาสต่อการลงทุนเพื่อรอสร้างผลตอบแทนเมื่อดัชนีรีบาวนด์ขึ้น ทว่า ยังมีนักลงทุนบางรายไม่ทราบว่าจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนในภาวการณ์ช่วงนี้อย่างไรให้เหมาะสม และช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ เรามาดูกันเลยว่า 10 หุ้นที่น่าลงทุนนั้นมีอะไรบ้าง 1. EA รับรู้กำลังผลิต 644 MW เต็มปี "ออมสิน ศิริ" ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ระบุว่า แนวโน้มกำไรสุทธิปี 63 จะทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปีก่อนที่ทำได้ 6,082 ล้านบาท เนื่องจากจะรับรู้รายได้กำลังผลิตไฟฟ้าครบ 664 เมกะวัตต์เต็มปี ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 278 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม 386 เมกะวัตต์  "ธุรกิจหลักโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แถมปีนี้จะรับรู้กำลังการผลิต 664 เมกะวัตต์เต็มปี ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิเติบโตทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง มีเพียงธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบบ้าง เพราะลูกค้าเลื่อนรับการส่งมอบรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (MPV) เป็นไตรมาส 3/63 จากเดิมช่วง มี.ค.63 แต่ไม่มีนัยต่อการรับรู้รายได้ปีนี้" ออมสิน กล่าว บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ประเมินกำไรสุทธิปีนี้จะเติบโต 8.9% จากปีก่อน อยู่ที่ประมาณ 6,400 ล้านบาท จากการรับรู้โรงไฟฟ้าทั้งหมดเต็มปี 2. GULF จะกำไรนิวไฮอีก 8 ปีต่อเนื่อง บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) กำไรสุทธิ 8 ปีข้างหน้า (ปี 63-70) จะเติบโตทำสถิติใหม่ทุกปี เฉลี่ยปีละ 20% จากการรับรู้กำลังการผลิตในมือที่ทยอยเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) อีกกว่า 5,080 เมกะวัตต์จากปัจจุบันที่ COD ไปแล้ว 2,701 เมกะวัตต์ ด้านบทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดว่า กำไรปี 63 ของ GULF จะอยู่ที่ 4,680 ล้านบาท เติบโต 33% จากปีก่อน จากการรับรู้รายได้เต็มปีของโรงไฟฟ้า SPP 4 โรง และโครงการโซลาร์เวียดนาม 2 โรง ปัจจุบันมีกำลังผลิต 2,701 เมกะวัตต์ ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มเป็น 7,781 เมกะวัตต์ภายในปี 70 คาดกำไรใน...
Read More
หุ้น Lufthansa ทะยานขึ้นหลังขอเงินทุนรัฐบาล

หุ้น Lufthansa ทะยานขึ้นหลังขอเงินทุนรัฐบาล

หุ้น Lufthansa ทะยานขึ้นหลังขอเงินทุนรัฐบาล หุ้น Lufthansa สายการบินชั้นนำของยุโรปจากเยอรมนีกำลังอยู่ในขั้นเจรจากับรัฐบาลเพื่อขอให้ช่วยโอบอุ้มธุรกิจให้พ้นจากหุบเหวแห่งการล้มละลาย ขณะที่บริษัทสูญเงินราว 1 ล้านยูโร (1.1 ล้านดอลลาร์) ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อดำเนินงานในช่วงที่อุตสาหกรรมการบินเป็นอัมพาตจากภาวะโรคระบาด ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยตลาดเยอรมนีทำผลงานได้ดีที่สุดเมื่อเปิดทำการวันแรกหลังวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นเวลา 3 วัน ขณะที่ยังคงมีการหารือกันเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของภูมิภาค เมื่อเวลา 4:10 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (0810 GMT) ดัชนี DAX ของเยอรมนีปรับตัวขึ้น 3.1% ดัชนี CAC 40 ของฝรั่งเศสดีดขึ้น 1.7% ขณะที่ดัชนี FTSE ของสหราชอาณาจักรบวกขึ้น 0.7% ดัชนี Stoxx 600 ขยับขึ้น 1.3% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม และดัชนี RTSI ของรัสเซีย บวก 1.94% Lufthansa ระส่ำ สูญเงิน 1 ล้านยูโรทุก 1 ชั่วโมง Lufthansa เผยผลประกอบการในระหว่างประชุมประจำปีผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยขาดทุนในไตรมาสแรกถึง 1.2 พันล้านยูโร และมีแนวโน้มประสบปัญหาทางการเงินอย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤตการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินระส่ำระสายไปทั่วโลก คาร์สเทน สปอห์ร ซีอีโอของ Lufthansa กล่าวต่อผู้ถือหุ้นว่า บริษัทได้ก้าวถอยหลังไปสู่จุดเริ่มต้นในปี 1955 หรือ 1 ทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการห้ามบินเป็นเวลา 10 ปี โดยกลุ่มบริษัทสูญเสียสินทรัพย์สภาพคล่องราว 1 ล้านยูโรในทุกๆ 1 ชั่วโมงในการดำเนินงาน “เราไม่มีรายได้ในทางปฏิบัติ แต่รายจ่ายสำหรับพนักงาน เครื่องมือ การเช่า หรือเชื้อเพลิงยังมีอย่างต่อเนื่อง”   อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กังวลว่าการแทรกแซงของรัฐบาลจะเป็นอุปสรรคต่อ Lufthansa ในการเร่งปรับโครงสร้างบริษัทตามแผน ซึ่งเดิมเตรียมลดขนาดฝูงบินลง 13% ตลอดจนปลดพนักงานจำนวน 10,000 ตำแหน่ง ขณะที่พนักงานราว 2 ใน 3 หรือกว่า 80,000 คน ถูกลดชั่วโมงการทำงานไปก่อนหน้านี้แล้ว ต่อลมหายใจ Lufthansa หลังประสบภาวะวิกฤตจากโควิด-19 จนทำให้สายการบินยักษ์ใหญ่อย่าง Lufthansa อาจไปไม่รอด และต้องขอให้รัฐบาลเยอรมนียื่นมือเข้าอุ้มธุรกิจ ล่าสุดรัฐบาลได้เคาะอนุมัติเงินช่วยเหลือมูลค่า 9 พันล้านยูโร (ประมาณ 3.13 แสนล้านบาท) เพื่อต่อลมหายใจ และรักษาตำแหน่งงานนับหมื่นตำแหน่ง เงินช่วยเหลือนี้มาพร้อมเงื่อนไขให้รัฐบาลเข้าถือหุ้น Lufthansa จำนวน 20% ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยรัฐบาลมีแผนจะขายหุ้นทั้งหมดภายในสิ้นปี 2023 แต่สามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นอีก 5% บวก 1 หุ้น ซึ่งจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถโหวตยับยั้งการเข้ามาเทกโอเวอร์ของบริษัทหรือรัฐบาลต่างชาติได้ แต่ดีลดังกล่าวยังต้องผ่านความเห็นชอบจากกลุ่มผู้ถือหุ้น และคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ข่าวรัฐบาลไฟเขียวหนุนราคาหุ้น Lufthansa พุ่งขึ้น 7.5% เมื่อวานนี้ และช่วยหนุนดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีทะยานขึ้น 2% และปิดที่ระดับสูงสุดนับจากวันที่ 6 มีนาคม ธุรกิจ Lufthansa ดอยซ์ ลุฟท์ฮันซ่า เอจี กลุ่มธุรกิจการบินระดับโลก  ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยในเครือและบริษัทร่วมทุนมากกว่า 550 กลุ่ม  ซึ่งแบ่งกลยุทธ์การดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน  คือ  1.สายการบินที่มีฐานการบินหลักระดับพรีเมียม...
Read More
EGCO ราคานี้น่าลุ้นไหม หลังไตรมาสแรกพลิกขาดทุน?

EGCO ราคานี้น่าลุ้นไหม หลังไตรมาสแรกพลิกขาดทุน?

EGCO ร่วงสองวันติด ราคานี้น่าลุ้นไหม หลังไตรมาสแรกพลิกขาดทุน? EGCO ร่วงสองวันติด วานนี้ลดลงเกือบ 3% พร้อมแรงขายหนาแน่น หลังนักลงทุนผิดหวังงบไตรมาสแรกพลิกเป็นขาดทุน หลังขาดทุนค่าเงินเกือบ 3 พันลบ. แต่พบกำไรจากการดำเนินงานปกติกลับเติบโต 5.5% นักวิเคราะห์บอกมีลุ้นไตรมาส 2 พลิกเป็นกำไร เพราะเข้าช่วงไฮซีซั่นการใช้ไฟฟ้า บวกกับไม่มีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนทั้งปีคาดกำไรใกล้เคียงปีก่อนที่ 1 หมื่นลบ. กูรูส่วนใหญ่แนะนำซื้อ เพื่อเก็งกำไรผลงานไตรมาส 2 แถมราคาบวกอัตราตอบแทนเงินปันผลสูงถึง 29% วานนี้ราคาหุ้น บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) เจอถล่มต่อเนื่องเป็นวันที่สอง -2.60% มาปิดที่ 262 บาท ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นผิดปกติ +135.45% หลังจากสร้างความผิดหวังให้ตลาดประกาศผลกำไรไตรมาสแรกที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ ไตรมาสแรกพลิกขาดทุนจากค่าเงิน แต่กำไรจากการดำเนินงานยังโต 5.5% บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซีย พลัส ระบุว่า EGCO รายงานผลขาดทุน 413 ล้านบาท ในไตรมาส 1/63 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากงวดก่อนหน้าที่มีกำไร 2.5 พันล้านบาท และต่ำกว่าที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดไว้ เพราะได้รับปัจจัยกดดันหลักจากการบันทุกกลับเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธฺสูงสุดถึง 2.9 พันล้านบาท แต่หากตัดรายการพิเศษดังกล่าวพิจารณาเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานปกติพบว่า เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 5.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.1 พัน้ลานบาท รับปัจจัยหนุนจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้นถึง 41.5% อีกทั้งโรงไฟฟ้าที่มีการ Shutdown ไปในไตรมาส 4/63 ก็กลับมาเดินเครื่องผลิตปกติเช่น BLCP นอกจากนี้รับผลบวกจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ลดลงสู่ระดับปกติ มีลุ้นไตรมาส 2/63 พลิกกำไร เหตุเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ไม่มีขาดทุนค่าเงิน อย่างไรก็ดี บล.เอเชียพลัส กลับมองว่า แนวโน้มกำไรปกติในไตรมาส 2/63 ของ EGCO จะเติบโตจากไตรมาสแรกรับช่วง High Season ของการใช้ไฟฟ้าในฤดูร้อน ความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยจะปรับตัวทำระดับสูงสุดของปี อีกทั้งในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ คาดจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหลังจากฝนที่เริ่มตกในช่วงเดือน พ.ค. ขณะที่ในส่วนของผลการดำเนินงานสุทธินั้นคาดจะพลิกกลับเป็นกำไรได้ เพราะคาดจะไม่มีการบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในระดับสูงเช่นที่เกิดขึ้นในงวดไตรมาสแรก ส่วนทางกับ บล.บัวหลวง ระบุว่า การประมาณการของเราบ่งชี้ว่ากำไรหลักในไตรมาส 2/63 จะอ่อนตัวลงจากไตรมาสแรก (ผลขาดทุนจากโรงไฟฟ้า XPCL, อัตราก าไรขั้นต้นจากโรงไฟฟ้า Paju ลดลง, และความต้องการใช้ไฟฟ้าในต่างประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19) แต่เพิ่มขึ้นไตรมาสก่อนหน้า (ไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าQuezon และรายได้AP เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลสำหรับโรงไฟฟ้า IPP) และด้วยสมมุติฐานที่ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในต่างประเทศจะกลับสู่ระดับปกติภายในเดือนมิ.ย. และคาดว่ากำไรหลักของ EGCO ในไตรมาส 3/63 จะขยายตัวช่วงเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า และแตะระดับสูงสุดของปี2563 โดยกำไรหลักในไตรมาส 4/63 น่าจะอ่อนตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า (แต่สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน) เนื่องจากผลประกอบการที่อ่อนตัวตามฤดูกาลจากโรงไฟฟ้า Paju, BLCP, และ XPCL ทั้งปีคาดกำไรใกล้เคียงปีก่อนที่ 1 หมื่นล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานปี 2563 นั้น บล.เอเซีย พลัส ได้ปรับลดประมาณการกำไรจากการดำเนินงานปกติลง 14% จากเดิม เพื่อสะท้อนการปรับลดกำไรจากโรงไฟฟ้า BLCP ที่ค่าความพร้อมจ่ายปรับตัวลดลงค่อนข้างมีนัยฯ เพราะเข้าสู่ช่วงท้ายของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยจะหมดสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี ในปี 2565 ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจากนี้จะมีส่วนแบ่งกำไรให้ EGCO เหลือราว 600-700...
Read More