ตราสารหนี้ คำนี้หลายๆคนที่เป็นนักลงทุนหรือชอบเล่นหุ้นคงรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว แต่สำหรับผู้ที่กำลังสนใจเรื่องของหุ้นหรือธุรกิจอยู่ล่ะก็ อย่าพลาดบทความนี้เป็นอันขาด มันจะเป็นอย่างไรนั้น มาดูกันเลย

ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ (ผู้ลงทุน) มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้รับ “เงินต้น” คืนเมื่อครบกำหนดอายุ
ตัวอย่างตราสารหนี้ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน

เหตุผลที่ควรลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้

เหตุผลที่ควรลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้

+ ตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 20 ปี ระดับความเสี่ยงหลากหลายผู้ลงทุนเลือกได้ตามต้องการ
+ เมื่อลงทุนแล้วจะได้รับดอกเบี้ยเป็นงวดๆตามที่ระบุไว้ในหน้าตั๋ว เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้แน่นอน สม่ำเสมอ
+ พันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป
+ ผู้ลงทุนในตราสารหนี้มีฐานะเป็น “เจ้าหนี้”ขณะที่ผู้ลงทุนในหุ้นมีฐานะเป็น “เจ้าของ”เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับเงินคืนก่อนเจ้าของเสมอ
+ ราคาและผลตอบแทนจากตราสารหนี้ จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับหุ้น จึงช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมได้เป็นอย่างดี
+ ผู้ลงทุนสามารถขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดได้ ซึ่งสภาพคล่องในการซื้อขายอาจแตกต่างกันไปตามปริมาณและประเภทของตราสารหนี้นั้นๆ

ดัชนีตราสารหนี้

ดัชนีตราสารหนี้ (Bond Index) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามความเคลื่อนไหว ของตลาดตราสารหนี้ โดยราคาตราสารหนี้จะเป็นตัวสะท้อนภาวะของอัตราดอกเบี้ย ในตลาด กล่าวคือ หากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวลดลง ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับตัว เพิ่มขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวลดลง ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถใช้ดัชนีตราสารหนี้เป็น เกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนของตนเองเมื่อเทียบกับตลาด ซึ่งอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นควบคู่ ไปด้วย เช่น ประเภทตราสาร หรืออายุเฉลี่ย ของตราสารหนี้ (Duration) ฯลฯ

ตราสารหนี้ภาครัฐ

การจองซื้อ
ประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนทั่วไป
ตราสารหนี้ที่ซื้อได้ : พันธบัตรออมทรัพย์
เงินลงทุนขั้นต่ำ : 1,000 บาท
ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) : ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (BBL / KBANK / KTB / SCB)

การประมูล
ประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนสถาบัน
ตราสารหนี้ที่ซื้อได้ : พันธบัตรประเภทอื่นๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ
เงินลงทุนขั้นต่ำ : ไม่ระบุ
ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) :  
ธนาคารพาณิชย์ 14 แห่งบริษัทหลักทรัพย์ (บล. หรือโบรกเกอร์) 29 แห่ง

วิธีการประมูล
 ประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid)
ประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid)

ตราสารหนี้ภาคเอกชน

การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป
(Public Offering : PO)

ประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนทั่วไป
เงินลงทุนขั้นต่ำ : 50,000 – 100,000 บาท
ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) : ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออก
การจัดอันดับตราสารหนี้ : มี

การเสนอขายให้แก่ผู้ซื้อในวงจำกัด
(Private Placement : PP)

ประเภทผู้ลงทุน :
 ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
 ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงไม่เกิน 10 ราย
เงินลงทุนขั้นต่ำ : ไม่ระบุ
ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) : ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออก
การจัดอันดับตราสารหนี้ : ไม่จำเป็นต้องมี

มาทำความรู้จักกับคำว่า ตราสารหนี้ กันเถอะ

การซื้อขายตราสารหนี้

ระบบการซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Electronic EXchange) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความสะดวกและ ดำเนินการได้โดยง่าย โดยนักลงทุนติดต่อซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ หรือที่เรียกว่าบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ โดยขั้นตอนหลักๆของการซื้อขาย มีดังนี้

1.เปิดบัญชีซื้อขาย ผู้ลงทุนติดต่อโบรกเกอร์เพื่อเปิดบัญชีการซื้อขาย ท่านที่เป็นลูกค้าเดิมที่มีบัญชีการซื้อขายตราสารทุนอยู่แล้ว ให้แจ้งความจำนงว่าต้องการ ซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ท่านอาจต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้โบรกเกอร์ไปดำเนินการในรายละเอียดด้านระบบปฏิบัติงานภายใน

2.การส่งคำสั่งซื้อขายและการยืนยันการซื้อขาย เมื่อนักลงทุนพิจารณาความต้องการลงทุนและประเมิน ความเสี่ยงของหุ้นกู้แล้ว ให้แจ้งคำสั่งการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้ ที่บริษัทโบรกเกอร์ เจ้าหน้าที่จะส่งคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ และแจ้งยืนยันผลของการซื้อขายให้ลูกค้าทราบ

3.หลักเกณฑ์และวิธีการซื้อขาย ก. วิธีการจับคู่อัตโนมัติ (Automatic Order Matching หรือ AOM) เป็นวิธีการเดียวกับการซื้อขายหุ้นสามัญบนกระดานของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวคือ คำสั่งซื้อหรือขายที่นำส่งเข้ามาในระบบ จะจับคู่กับคำสั่งที่ขายหรือซื้อที่นำส่งเข้ามาในระบบเช่นกัน โดยเรียงลำดับตามเวลา ราคา และปริมาณของแต่ละคำสั่ง เมื่อตรงกันแล้วระบบจะจับคู่คำสั่งซื้อขายดังกล่าว ผู้ซื้อ ผู้ขาย ไม่ทราบชื่อคู่ค้าของตน โดยนักลงทุนสามารถรับทราบถึงผลการซื้อขายทันที่เมื่อรายการซื้อขายนั้นจับ คู่แล้วจากโบรกเกอร์ของตน

แหล่งอ้างอิง : การตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บทความเพิ่มเติม : 10 อันดับหลักทรัพย์
พักสมองกับเรื่องลี้ลับ : เรื่องสยอง บ้านพักราชการ