
เอาตัวรอดในภาวะ ” ตลาดหุ้นขาลง “
นักลงทุนหน้าใหม่ใน ตลาดหุ้น หลายๆคนคงจะมึนหัวไม่น้อย ในช่วงนี้ที่ตลาดหุ้น SET มีการลดลงอย่างหนัก ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องทำการ "หยุดการซื้อขาย" ระหว่างวันเลย หรือ Circuit Breaker เพื่อป้องกันความตื่นตระหนกของนักลงทุน โดยในวัฏจักรของ ตลาดหุ้น นั้นย่อมมีขึ้นลง เป็นธรรมชาติ ของตลาด ที่จะมีการซื้อขายกันตามอุปค์-อุปทาน แล้วจะทำอย่างไรละหากเกิด ภาวะ ตลาดหุ้นขาลงความคาดหวังของนักลงทุน หรือจากการวิเคราะห์จากทฤษฎีต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิคเป็นต้น
หากนักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองที่เป็นบวก จะส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขขึ้น จนทำให้เกิดแนวโน้ม ขาขึ้น (Up Trend) แต่ถ้านักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมอง ที่เป็นลบ จะส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวลดลงจนเกิดแนวโน้มขาลง เพราะอัตราผลตอบแทนที่ นักลงทุนได้รับจะลดลง หรือไม่ก็ติดลบ
ตลาดหุ้นในตอนนี้ที่กำลังต้องเผชิญกับสงครามราคาน้ำมัน ที่ซาอุดิอาราเบียเปิดฉากขึ้น ในขณะที่มีปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นติดลบอยู่แล้ว อย่างการแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด 19 ที่เกิดขึ่นทั่วโลก
COVID-19 ที่จีนเริ่มเอาอยู่แล้ว แต่ประเทศอื่น ๆ ดูยังน่าเป็นห่วง ด้วยตัวเลขผู้ติดเชื้อ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน อย่างรวดเร็ว ทุกประเทศไม่ได้คุม COVID-19 ได้เหมือนอย่างที่จีนทำได้ เนื่องจากจีนเป็นประเทศกึ่งคอมมิวนิสต์ ที่สามารถควบคุมประชาชนได้มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ในทางกลับกันที่ ประเทศอิตาลี หรือสหรัฐฯ ไม่มีวัฒนธรรมแบบนั้น จึงทำให้การควบคุมการระบาดนั้นช้ากว่าจีน ผลกระทบที่เกิดในเศรษฐกิจจะยืดเยื้อ และหนักกว่ามาก
รอจังหวะซื้อหุ้นราคาถูก
หุ้นราคาถูก ในสภาพตลาดหุ้นอยู่ในขาลงนั้นไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนจะซื้อหุ้นที่ราคาลดตามมาได้ทุกตัว หุ้นที่ซื้อจะต้องผ่านการวิเคราะห์มาแล้วว่าเป็น "หุ้นพื้นฐานดี" ซึ่งหมายความว่าหุ้นตัวนี้จะต้องมีความสามารถ ในการทำกำไร อย่างต่อเนื่อง มีผู้บริหารที่มีความสามารถ มีโอกาสที่ธูรกิจจะขยายตัวต่อเนื่อง และยังสามารถเอาตัวรอดได้แม้ว่าเศรษฐกิจถดถอย
ซึ่งการที่หุ้นเหล่านี้ มีราคาลดลงอาจเป็นเพราะ กิจการกำไรไต้ต่ำกว่า ที่คาดไว้เกิดเหตุความไม่สงบในประเทศ ภัยพิบัติ หรืออาจจะเป็นข่าววงในของกิจการโดยตรง เราจึงต้องวิเคราะห์ให้ดี มิฉะนั้น หุ้นที่ซื้อไปอาจจะเป็นหุ้นที่ไม่มีคุณภาพก็เป็นได้ค่ะ
วางแผน รักษาเงินต้น คือเป้าหมายสูงสุด ในเวลานี้
การติดตามข่าวรายวันอาจไม่ช่อยพอร์ตการลงทุนของเราเท่ากับการวางแผนว่าจะรักษาเงินต้นที่ยังอยู่กับเรา ณ ตอนนี้อย่างไร หรือวางแผนว่าจะทำยังไงถ้าตลาดแย่ลง หรือกลับมาดีขึ้นอะไรคือปัจจัยที่เราให้น้ำหนัก เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ ที่ลดลง หรือำนวนปริมาณการส่งออกของจีน รวมถึง การเผื่อใจไว้ด้วยว่าวิกฤตครั้งนี้อาจจะหนักกว่า 2008
DCA (Dollar Cost Average)
DCA คือ การลงทุนซื้อหุ้นทุกๆเดือน ในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวล ว่าต้องการซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำ หรือซื้อหุ้นไม่ทัน ในตอนที่ราคาดีดตัวกลับ หลักการนี้จะไม่สนใจเรื่องของราคา เพราะมีการถัวเฉลี่ยราคาจากการซื้อทุกเดือน แถมเป็นการฝึกวินัยในการออมให้กับนักลงทุนเองค่ะ
ปรับสัดส่วนของเงินลงทุน
การกระจายเงินลงทุนสินทรัพย์ทางการเงิน ประเภทอื่นที่แตกต่างจากหุ้น และกระจายความเสี่ยงของพอร์ตตัวเองได้ดี เช่น ในยามที่สภาวะตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น พอร์ตการลงทุนของนักลงทุนทั่วไปอาจจะเป็น ลงทุนในหุ้น 80% ตราสารหนี้ 20% แต่ถ้าเมื่อใดที่ ตลาดหุ้นกลับเป็นขาลงขึ้นมา นักลงทุนก็อาจจะปรับสัดส่วนของพอร์ตตัวองเป็น ตราสารหนี 45% เงินฝากธนาคาร 30% เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลงทุนในหุ้นอีก 25% เป็นต้น
ดังนั้น นักลงทุนควรปรับสัดส่วนการลงทุน ไปตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วง เพื่อรักษาเงินลงทุนของตนเอง
หุ้นที่ดีในตอนนี้
ให้น้ำหนักกับหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากไวรัส หลีกเลี่ยงหุ้นท่องเที่ยว และหุ้นที่เกี่ยวโดยตรงกับราคาน้ำมัน ที่สำคัญถ้าหุ้นตัวนั้น มีปันผล 5-8% ขึ้นไป อยู่ในธุรกิจที่มีเสถียรภาพของรายได้สูง มีหนี้ต่ำ สภาพคล่อดี และธุรกิจมีแนวโน้มกับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว พวกหุ้นที่เป็นสัมปทาน หุ้นโรงไฟฟ้า หรือหุ้นโรงพยาบาล อสังหา หรือแม้แต่ธนาคารบางตัว อาจเป็นตัวเลือกที่ในการทยอยเข้าซื้อ
การเก็งกำไรขาลง
ในภาวะตลาดขาลง การซื้อ หรือ การถือหุ้น อาจจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ สำหรับนักลงทุนโดยทั่วไป แต่มีก็มีนักลงทุนที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยใช้สินทรัพย์ ทางการเงิน เก็งกำไรได้ นั่นคือ ตราสารอนุพันธ์ โดยจะแบ่งออกเป็น...