รวมความคิดของมหาเศรษฐี ระดับโลก เขาคิดอย่างไรกัน

รวมความคิดของมหาเศรษฐี ระดับโลก เขาคิดอย่างไรกัน

รวมความคิดของมหาเศรษฐี สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้กันนะเชื่อว่า เกือบทุกคนอยากรวยจากการลงทุนอะไรสักอย่าง แต่ยังไปไม่ถึงฝัน ไม่ว่าคุณจะลงทุนเรื่องหุ้น ธุรกิจ หรืออะไรก็แล้วแต่ทุกคนย่อมอยากประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น แต่จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากว่าแนวคิดหรือกรอบความคิดอะไรสักอย่าง วันนี้จะมาดูกันว่า แนวคิดของคนที่รวยเขาคิดอย่างไร ไปชมกันเลย สตีฟ  จอบส์ (Steve Jobs) 1. จงกระหาย และ ทำตัวโง่ให้ตลอดเวลา เพราะถ้าเมื่อไหร่เราอิ่ม และ เรารู้สึกว่าตัวเองฉลาด เราจะไม่มีทางพัฒนา2. นวัตกรรมแยกผู้นำกับผู้ตามออกจากกัน3. ถ้า Apple เป็นที่ที่คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ธรรมดา ความน่าตื่นตาหายไป และคนลืมไปว่า คอมพิวเตอร์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มหัศจรรย์ที่สุดที่มนุษย์เคยรังสรรค์ขึ้นมา ผมคงรู้สึกว่าผมสูญเสีย Apple ไป แต่ถ้าผมอยู่ห่างออกไปแสนไกลแล้ว แต่คนยังรู้สึกแบบๆนั้น (Apple ยังตื่นตาและรู้ว่าคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่ดีที่สุด) ผมคงรู้สึกว่าพันธุกรรมของผมยังคงอยู่ที่นั่น4. ในบางครั้งเมื่อคุณสร้างนวัตกรรม คุณก็สร้างสิ่งที่ผิดพลาด สิ่งที่ดีที่สุดคือ คุณยอมรับความผิดพลาดนั้นอย่างรวดเร็ว และพัฒนามันในนวัตกรรมอื่นๆของคุณ5. จงเป็นมาตรฐานของคุณภาพ เพราะคนบางคนไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ความสุดยอดเป็นที่ต้องการ แจ๊คหม่า Jack Ma เจ้าของ Alibaba ถ้าไม่แน่จริงคงไม่สามารถสร้าง “Alibaba” เป็นอาณาจักรธุรกิจใหญ่ระดับโลก ส่วนตัวเองก็เป็นนักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลและมหาเศรษฐีใจบุญ ที่คนรู้จักกันไปทั่ว กลายเป็น “ไอดอล” ที่หลายคนอยากเดินตามรอยความสำเร็จ มาดูกันว่า “Jack Ma” มีแนวการบริหารธุรกิจยังไงถึงพาตัวเองมายืน ณ จุดนี้ได้ แจ็คหม่า บอกว่า เคล็ดลับของ Alibaba คือ ต้องทำให้ความฝันมีชีวิตอยู่ตลอดเวลาอย่าสนใจเสียงแทรกเล็กๆ มีคนเคยบอกว่า Alipay เป็นความคิดที่ไร้สาระสิ้นดี แต่วันนี้เขาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเขาคิดถูกมุ่งเน้นและมุ่งเน้น ในฐานะ CEO ของบริษัทขนาดใหญ่ แน่นอนว่ามีโอกาสในการทำธุรกิจเข้ามาเยอะมากมาย และถ้าเขารับทุกโอกาส เขาอาจจะต้องเผชิญกับ 5,000 โอกาสต่อวันเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงคือเขาจะรับแค่โอกาสที่จะทำให้ธุรกิจเขาดีขึ้นเท่านั้น และปฏิเสธอย่างอื่นที่ไม่ใช่ หยุดบ่นและมองหาโอกาส แจ็ค หม่า บอกว่า คนเราสามารถหาโอกาสที่ซ่อนอยู่จากคำบ่นเหล่านี้ มองว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะโอกาสมีอยู่เสมอ บิล เกตส์ (Bill Gate) – เจ้าพ่อ Microsoft 1. ชีวิตนี้ไม่ยุติธรรมนักหรอก ทำความเคยชินกับมันซะเถอะ2. โลกไม่ได้สนใจหรอกว่าคุณมั่นใจในตัวเองแค่ไหน แต่โลกนี้คาดหวัง “ความสำเร็จ” ที่เกิดจากความมั่นใจของคุณต่างหาก3. ไม่มีทางที่คุณจะทำเงินได้ปีละ 60,000 เหรียญ หรือเกือบ 2 ล้านบาท ทันทีที่คุณเพิ่งจบมัธยม และก็อย่าหวังเลยว่าจะได้เป็นประธานบริษัทมีรถประจำตำแหน่งพร้อมโทรศัพท์ในรถส่วนตัวด้วย4. ถ้าคุณคิดว่า อาจารย์กำลังสอนบทเรียนอันน่าเบื่อ ก็ลองไปทำงานแล้วเจอกับเจ้านายดู แล้วคุณจะรู้ว่าอะไรน่าเหนื่อยอ่อนกว่ากัน5. มันเป็นเรื่องดีที่จะฉลองให้กับความสำเร็จ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือการระมัดระวังบทเรียนของความล้มเหลว In this April 18, 2017 file photo, Facebook CEO Mark Zuckerberg speaks at his company's annual F8 developer conference in San Jose มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) 1. เอาชนะคนที่เคยดูถูกเราให้ได้… . โดยเฉพาะแฟนเก่า เพราะสมัยที่เรียน Mark Zuckerberg เคยถูกแฟนทิ้ง ตอนนั้น Mark ทำตัวเละเทะมากจนถูกแฟนเก่าตราหน้าว่าไม่มีวันสำเร็จ2. อย่าปล่อยให้คนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักคุณดี มาทำลายจุดยืนของคุณ Mark ไม่เคยสนใจคำครหาของใครๆที่เข้ามาดูถูกเขา หรือมองว่าเขาจะทำไม่ได้3....
Read More
มาทำความรู้จักกับคำว่า ตราสารหนี้ กันเถอะ

มาทำความรู้จักกับคำว่า ตราสารหนี้ กันเถอะ

ตราสารหนี้ คำนี้หลายๆคนที่เป็นนักลงทุนหรือชอบเล่นหุ้นคงรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว แต่สำหรับผู้ที่กำลังสนใจเรื่องของหุ้นหรือธุรกิจอยู่ล่ะก็ อย่าพลาดบทความนี้เป็นอันขาด มันจะเป็นอย่างไรนั้น มาดูกันเลย ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ (ผู้ลงทุน) มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้รับ “เงินต้น” คืนเมื่อครบกำหนดอายุตัวอย่างตราสารหนี้ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน เหตุผลที่ควรลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้ + ตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 20 ปี ระดับความเสี่ยงหลากหลายผู้ลงทุนเลือกได้ตามต้องการ + เมื่อลงทุนแล้วจะได้รับดอกเบี้ยเป็นงวดๆตามที่ระบุไว้ในหน้าตั๋ว เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้แน่นอน สม่ำเสมอ + พันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป + ผู้ลงทุนในตราสารหนี้มีฐานะเป็น “เจ้าหนี้”ขณะที่ผู้ลงทุนในหุ้นมีฐานะเป็น “เจ้าของ”เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับเงินคืนก่อนเจ้าของเสมอ + ราคาและผลตอบแทนจากตราสารหนี้ จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับหุ้น จึงช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมได้เป็นอย่างดี + ผู้ลงทุนสามารถขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดได้ ซึ่งสภาพคล่องในการซื้อขายอาจแตกต่างกันไปตามปริมาณและประเภทของตราสารหนี้นั้นๆ ดัชนีตราสารหนี้ ดัชนีตราสารหนี้ (Bond Index) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามความเคลื่อนไหว ของตลาดตราสารหนี้ โดยราคาตราสารหนี้จะเป็นตัวสะท้อนภาวะของอัตราดอกเบี้ย ในตลาด กล่าวคือ หากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวลดลง ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับตัว เพิ่มขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวลดลง ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถใช้ดัชนีตราสารหนี้เป็น เกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนของตนเองเมื่อเทียบกับตลาด ซึ่งอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นควบคู่ ไปด้วย เช่น ประเภทตราสาร หรืออายุเฉลี่ย ของตราสารหนี้ (Duration) ฯลฯ ตราสารหนี้ภาครัฐ การจองซื้อประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนทั่วไปตราสารหนี้ที่ซื้อได้ : พันธบัตรออมทรัพย์ เงินลงทุนขั้นต่ำ : 1,000 บาท ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) : ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (BBL / KBANK / KTB / SCB) การประมูล ประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนสถาบัน ตราสารหนี้ที่ซื้อได้ : พันธบัตรประเภทอื่นๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ เงินลงทุนขั้นต่ำ : ไม่ระบุ ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) :  ธนาคารพาณิชย์ 14 แห่งบริษัทหลักทรัพย์ (บล. หรือโบรกเกอร์) 29 แห่ง วิธีการประมูล  ประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid) ประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid) ตราสารหนี้ภาคเอกชน การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป(Public Offering : PO) ประเภทผู้ลงทุน : ผู้ลงทุนทั่วไป เงินลงทุนขั้นต่ำ : 50,000 – 100,000 บาท ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent) : ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออก การจัดอันดับตราสารหนี้ : มี การเสนอขายให้แก่ผู้ซื้อในวงจำกัด(Private Placement : PP) ประเภทผู้ลงทุน :  ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงไม่เกิน 10...
Read More
ไม่มีเวลาดูหุ้น ก็สามารถลงทุนได้

ไม่มีเวลาดูหุ้น ก็สามารถลงทุนได้

วันนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับคนไม่ค่อยมีเวลาดูหุ้น เราจะมาบอกเทคนิค ไม่มีเวลาดูหุ้น ก็สามารถลงทุนได้ แต่ก่อนจะรู้ เทคนิค ไม่มีเวลาดูหุ้น ก็สามารถลงทุนได้ เรามาทำความรู้จักกับหุ้นก่อน ทำความรู้จักกับหุ้นก่อน 📈 หุ้น คือ สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการ ยกตัวอย่างเช่น หากเราลงเงินกับเพื่อนคนละครึ่งเพื่อเปิดร้านขายเสื้อผ้า เราจะมีสิทธิ์ในกิจการร้าน ขายเสื้อผ้านี้ครึ่งหนึ่ง คำว่าสิทธิ์นี่แหละที่เรียกว่าหุ้น หรือพูดง่ายๆก็คือหุ้นส่วน ให้เราจำกัดความสั้นๆเลย หุ้นก็คือหุ้นส่วนกิจการนั้นเอง เหตุผลที่เราจึงควรลงทุนในหุ้น 📊 ✒️ เริ่มต้นได้ด้วยเงินไม่มาก : ด้วยเงินหลักร้อยหลักพัน เราก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้แล้ว ✒️ สภาพคล่องสูงกว่าทำธุรกิจด้วยตนเอง : การลงทุนในหุ้นเปิดโอกาสให้เราซื้อหรือขายหุ้นได้แทบจะตลอดเวลา เราในฐานะนักลงทุนจึงสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจอะไรในช่วงเวลาไหน หรือในอีกนัยหนึ่งคือเราสามารถขายหุ้นออกไปได้ถ้าคิดว่าอนาคตของกิจการจะไม่ดี ต่างกับการทำธุรกิจส่วนตัว การขายกิจการทำออกไปได้ยากจนแทบเรียกว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าธุรกิจไปไม่รอด กว่าจะเลิกกิจการได้ก็อาจจะสูญเสียเงินไปมาก ✒️ ไม่ต้องบริหารธุรกิจเอง : หากเราต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจสักธุรกิจหนึ่ง ราอาจจะต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการบริหารจัดการ ให้ได้ผลกำไรสูงที่สุด แต่สำหรับหุ้นแล้วไม่ใช่ เพราะเราสามารถปล่อยหน้าที่การบริหารกิจการให้เป็นของกรรมการบริษัท เราในฐานะเจ้าของมีหน้าที่เพียงติดตามการทำงานเท่านั้น หากการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ อาจเสนอแนะได้ในการประชุมประจำปี หรืออาจขายหุ้นทิ้งเพื่อหาทางเลือกที่ดีกว่า ✒️ หุ้นสร้างผลตอบแทนได้ดี : ถ้าเลือกกิจการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ในระยะยาวหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุน โดยหุ้นจะให้ผลกำไรนักลงทุน 2 แบบด้วยกัน ดังนี้📍 กำไรจากส่วนต่างราคา : ซื้อหุ้นมาในราคาหุ้นละ 10 บาทและขายออกไปในราคาหุ้นละ 12 บาท แบบนี้นักลงทุนจะได้กำไร 2 บาทต่อหุ้น📍 กำไรจากเงินปันผล : โดยกิจการส่วนใหญ่จะมีการจ่ายเงินปันผลออกมาจากกำไรสุทธิ เราจะได้รับเงินที่ปันผลออกมาคล้ายได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร ซึ่งถ้ากิจการเติบโต เงินปันผลก็สามารถเติบโตได้อีกด้วย เทคนิค ไม่มีเวลาดูหุ้น ก็สามารถลงทุนได้ 📉 ✒️ ลงทุนแบบซื้อเฉลี่ยทุกเดือน : การเล่นหุ้นแบบ DCA (Dollar-Cost- Averaging) โดยซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยไปเรื่อย ๆ ในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันทุกงวด โดยไม่ต้องสนใจราคาในตอนนั้น เช่น หักทุก 10% ของเงินเดือนลงทุนในหุ้นไปเลยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้เราไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของราคาหุ้น เพราะมีการเฉลี่ยราคาจากการซื้อทุกเดือนอยู่แล้ว วิธีนี้จึงเหมาะกับมือใหม่และคนที่ต้องการออมหุ้นระยะยาว ที่สำคัญยังเป็นการฝึกวินัยในการลงทุนด้วย ให้ความรู้สึกที่เหมือนกับการที่เราออมเงินด้วยการหยอดกระปุกเป็นประจำก็ว่าได้ 📍 วิธีการ : เราเดินไปที่บริษัทหลักทรัพย์ ขอเปิดบัญชีซื้อหุ้นแบบถัวเฉลี่ย ศัพท์เทคนิคนิดหน่อยที่เขาใช้กันก็คือ DCA หรือ Dollar Cost Average ทางบริษัทหลักทรัพย์ก็จะทำการเปิดบัญชีให้เราง่ายนิดเดียว หรือจะสมัครแบบออนไลน์ก็ได้เข้าไปดูรายละเอียดในเว็บของบริษัทหลักทรัพย์ได้เลย หรือจะอ่านวิธีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใน Blog Gen C ก็มีให้อ่านหลายบทความนะครับ เริ่มต้นง่าย ๆ ทำไปทุกเดือน พอผ่านไปหลายปีเราจะเห็นมหัศจรรย์แห่งการทบต้น ✒️ ลงทุนแบบเน้นคุณค่า : การที่จะซื้อหุ้นแบบ DCA ประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือเราเลือกหุ้นพื้นฐานดีให้ได้ก่อน หรือที่มักเรียกกันว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวกับหุ้นดีในราคาที่เหมาะสม ทำให้ไม่ต้องคอยพะวงกับราคาที่อาจผันผวนรวดเร็ว หลักการเบื้องต้นในการดูหุ้นพื้นฐานดี ควรเป็นบริษัทที่ไม่แกว่งตามภาวะตลาดมากจนเกินไป เป็นธุรกิจที่เติบโตมั่นคงต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาขาดทุน หนี้สินไม่เยอะ และสภาพคล่องดี ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราสามารถวิเคราะห์ได้จากประวัติผลการดำเนินงานย้อนหลังของบริษัทนั้น ๆ หรือหากใครไม่รู้ว่าจะเริ่มศึกษาจากหุ้นตัวไหนดี ก็สามารถเริ่มต้นจากหุ้นในกลุ่มดัชนี SET50 หรือ SET100 ก็ได้ เพราะเป็นการคัดกรองคร่าว ๆ จากตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วว่าเป็นกลุ่มบริษัทใหญ่ที่สภาพคล่องสูง ❌ ไม่เหมาะกับคนที่ชอบเทรดหุ้น หรือคนที่อยากเห็นกำไรเร็วๆ ❌ ✒️ มองหาหุ้นปันผล : ถ้าอยากได้ผลตอบแทนทุก ๆ ปี โดยไม่ต้องมาคอยเก็งกำไรส่วนต่างราคา หุ้นปันผลสามารถตอบโจทย์นี้ได้ เหมาะกับคนที่อยากลงทุนแบบสบาย ๆ ความเสี่ยงต่ำ และรับเงินปันผลสม่ำเสมอ หุ้นปันผลส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทที่เติบโตมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้มีความมั่นคง แต่อาจจะไม่ได้หวือหวามากนัก โดยวิธีหาหุ้นปันผลควรพิจารณาจากบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้นักลงทุนสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกปี...
Read More
5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่

5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่

5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่ 5 เคล็ดลับการเล่นหุ้น สำหรับมือใหม่ เล่นอย่างไรให้ได้กำไร ทุกครั้งที่ได้ยินคนรอบตัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย เริ่มพูดคุยกันว่า “อยากจะเริ่มต้นเล่นหุ้น” ทีไร บอกตรงว่าใจสั่นขึ้นมาทุกที เพราะใจหนึ่งก็รู้สึกดีใจที่คนหลายคนสนใจเรื่องการลงทุน เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับตัวเอง แต่อีกใจหนึ่งกลับรู้สึกหวั่นๆ เพราะทุกครั้งที่เป็นแบบนี้ นั่นแปลว่าจะมี “มือใหม่” หลายคนที่ขาดทุนจนเข็ด และขยาดตลาดหุ้นกันไปเลยครับ ใครหลายคนมักจะตั้งคำถามว่า ถ้าอยากจะเล่นหุ้น ต้องมีอะไรบ้าง คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ คือ ต้องมี “เงิน” เป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าเงินที่เรามี นั่นคือ “ความรู้และความเข้าใจที่ถูกวิธีในการลงทุน” ต่างหากครับ การเล่นหุ้นให้ได้กำไรตลอดเวลานั้น เป็นไปได้ แต่ต้องทำตามเคล็ดลับดีๆ ทั้ง 5 ข้ออย่างเคร่งครัดนะครับ เอาล่ะ.. เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า เคล็ดลับในการเล่นหุ้นให้ได้กำไรทั้ง 5 ข้อนี้ มีอะไรบ้าง 1. เปลี่ยนคำว่าเล่นเป็นลงทุน สิ่งแรกเราต้องเข้าใจ ว่าความแตกต่างระหว่างของคำว่า “เล่นหุ้น” กับ “การลงทุนในหุ้น” นั่นคือ “เป้าหมาย“ ในการลงทุน เพราะคำว่า “เล่นหุ้น” นั้น มักจะหมายถึงการเล่นเก็งกำไรในระยะสั้นๆ  ซึ่งต้องการกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น แต่การลงทุนในหุ้น ต้องการความมั่นคงในระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนจากการเติบโตของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล หรือมูลค่าของหุ้นในอนาคต ดังนั้น สำหรับมือใหม่ทุกคน ขอแนะนำให้เริ่มต้นตั้งเป้าหมายที่การลงทุนระยะยาวเป็นลำดับแรก อย่าคิดที่จะซื้อขายเล่นๆ เพื่อหวังเก็งกำไร เพราะสุดท้ายแล้ว มักจะจบลงที่ลุ้นกันจนตัว “เกร็ง” ทุกทีเลยเชียว 2. ต้องใช้เงินเย็นเท่านั้น เงินเย็น คือเงินที่เราสามารถเสียไปโดยที่ไม่เดือดร้อน หรือพูดง่ายๆ คือเงินที่หายไปก็ไม่เสียดายนั่นเอง เพราะการลงทุนในหุ้นนั้นมี “ความเสี่ยง” ดังนั้นถ้าหากเราเอาเงินที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตไปเสี่ยง แบบนั้นคงไม่ดีใช่ไหมครับ แต่การใช้เงินเย็นก็ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยงนะครับ จะเงินร้อน เงินเย็น เงินคนอื่น เงินแบบไหนมันก็เสี่ยงทั้งหมด เมื่อมาลงทุนในหุ้น แต่ข้อได้เปรียบของเงินเย็น คือเป็นเงินที่ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุกวัน แต่มันอาจจะเจ็บใจเล็กน้อยเมื่อขาดทุน เพราะหลายๆ ตัวอย่างที่ผิดพลาดและขาดทุนแบบสุดกู่ ไปไม่กลับหลับไม่ตื่น คือใช้เงินกู้ในการเล่นหุ้น พอเล่นแล้วเสีย คราวนี้ก็เพลียกว่าเดิมเพราะต้องมีภาระทั้งดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในชีวิตอีกด้วยครับ นอกจากเงินเย็นแล้ว สิ่งแรกที่ควรต้องมีก่อนจะเริ่มลงทุน คือ เงินออม โดยอย่างน้อยต้องมีเงินออมไว้จำนวน 3-6 เท่า ของรายจ่าย เผื่อไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินและไม่คาดฝันด้วยครับ 3. รู้จักหุ้นให้ดีเสียก่อน คำว่ารู้จักหุ้นให้ดีเสียก่อน ไม่ได้แปลว่าให้ไปทำความรู้จัก สวัสดีทักทายหุ้นที่เราต้องการลงทุนนะครับ แต่ให้รู้ก่อนว่า หุ้นตัวนั้นที่เราเลือก ประกอบธุรกิจอะไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร ข้อมูลต่างๆ บทวิเคราะห์ ข่าว ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ และอื่นๆ อีกมากมายที่เราต้องรู้ ถ้าถามว่ารู้แค่ไหนดี บอกตรงๆ ว่ารู้ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ และเมื่อรู้เยอะแล้ว ต้อง “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” ข้อมูลให้เป็นด้วย เพื่อที่จะได้เข้าใจและวางแผนการลงทุนได้อย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดใหญ่ๆ ที่มือใหม่เจอเสมอ นั่นคือ “หุ้นเพื่อนบอก” เพื่อนเรานี่แหละครับตัวดี บอกข่าวมาว่าหุ้นตัวนี้ดีๆๆ ให้เรารีบๆ ซื้อ แถมบอกราคาเป้าหมายไว้เสร็จสรรพ แต่ถ้าเราซื้อไปโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลอะไรเลย แต่รีบซื้อเพราะกลัวว่าจะ “ตกรถ” (หุ้นขึ้น แต่ไม่ได้ซื้อ) แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผ่านไปสักพัก เรากลับ “ติดดอย” แทน เพราะว่าเจ้าเพื่อนตัวดีมันไม่เคยบอกเลยว่า ราคาที่เหมาะจริงๆ ของหุ้นตัวนี้คือเท่าไรกันแน่ คำที่น่ากลัวอีกคำ คือ “วงใน” หรือ “เค้าว่ามา” รับประกันเลยว่า ถ้าข่าวหลุดมาถึง “มือใหม่” เมื่อไรแล้วล่ะก็ ข่าวนั้นคงไม่ใช่ “วงใน” แล้วล่ะครับ 4. รู้จักตัวเราให้ดีพอ รู้ก่อนว่า เรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหนกันแน่ เพราะบางคนเล่นหุ้นเพราะหวังกำไรเยอะๆ แต่รับความเสี่ยงไม่ได้ ผลสุดท้ายต้องทรมานจิตใจแทน ดูเช้า ดูเย็น ดูทั้งวัน งานการไม่ได้ทำเพราะกลัว อันนี้ก็ไม่ไหวนะครับ อีกอย่างที่สำคัญ และต้องทบทวนตลอดเวลา นั่นคือ...
Read More
พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) กระแสของการออม เพื่อให้เงินงอกเงย ดีกว่าเก็บแช่เป็นเงินเย็น ที่ไม่ได้ผลิดอกออกผล  จนทำให้ มนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลาย หาหนทางให้เงินที่หามาได้นั้น เพิ่มพูนขึ้น และเป็นที่มาของการนำเงิน ไปลงทุนในหลาย ๆ รูปแบบที่สถาบันการเงินต่างนำเสนอ ทั้งการฝากประจำปลอดภาษี ที่ได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากประจำทั่วไป แถมยังปลอดภาษีอีกด้วย หรือจะเป็นการลงทุนในหุ้นที่แม้ตอนนี้ จะมีความผันผวนสักหน่อยแต่ก็ยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่นักลงทุนนิยมกัน ในขณะที่อีกหลายคนก็ขอเลือกลงทุนในกองทุนรวม ที่มีนำเสนอให้เลือกลงทุนตั้งแต่ระดับความเสี่ยงต่ำ ไปจนถึงความเสี่ยงสูง  แต่ยังมีอีกรูปแบบการลงทุนหนึ่งที่อยากจะแนะนำ นั่นคือ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทำความเข้าใจก่อนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สำหรับใครที่กำลังเล็ง ๆ อยู่ว่าจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลดีไหม มาทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน ว่าพันธบัตรรัฐบาลคืออะไร ตราสารหนี้รัฐบาล ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ผู้ซื้อหรือนักลงทุน มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ที่ได้รับการชำระหนี้และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล จากลูกหนี้คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้น ๆ จะเห็นว่า การลงทุนในพันธบัตรนั้น จะเข้าใจได้ง่ายตรง ๆ ไม่ซับซ้อน เข้าใจยากเหมือนการลงทุนแบบอื่น ๆ แล้วทำไมพันธบัตรรัฐบาล ถึงน่าลงทุน เพราะว่าความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หาย ได้รับผลตอบแทนดีกว่า ฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำ  ได้รับผลตอบแทน เป็นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากำหนด ระยะเวลาลงทุน ไม่นานมาก เช่น 3 ปี 5 ปี 7 ปี เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น ซื้อพันธบัตรมาเก็บไว้ จนถึงเวลาที่ต้องไถ่ถอน ตามกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยรายปี ปีละประมาณ 3% แต่อย่างที่บอกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน ดังนั้น ก็ยังคงมีความเสี่ยงและเงื่อนไขการลงทุนที่ต้องศึกษาอยู่ดีครับ เรามาค่อย ๆ ดูกันว่ามีอะไรบ้าง ประเภทของพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรตั๋วเงินคลัง มีความมั่นคงสูงที่สุด เพราะออกโดยกระทรวงการคลัง ความเสี่ยงจึงมีน้อย แต่ก็จะได้รับผลตอบแทนต่ำ ตามไปด้วย ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย แต่ใช้วิธีขายต่ำกว่าเพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ระยะเวลาไถ่ถอน ไม่เกิน 1 ปี และไม่ได้รับดอกเบี้ย พันธบัตรตั๋วสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ออกโดยสถาบันการเงิน เพื่อระดมทุนช่วยเหลือ ฟื้นฟูกองทุน และพัฒนาสถาบันการเงิน มีความเสี่ยงมากกว่า ตั๋วเงินคลัง ให้ผลตอบแทน ด้วยวิธีขายต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนคืนเต็มราคา ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 6 เดือน และไม่ได้รับดอกเบี้ย พันธบัตรรัฐบาล เราคุ้นเคย กับพันธบัตรประเภทนี้มากที่สุด ที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อระดมทุนไปใช้ในการบริหารประเทศ ลดการขาดดุล ทางการเงิน ถือเป็นตราสารหนี้ระยะยาว ระยะเวลาไถ่ถอน มากกว่า 1 ปี และได้รับ ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นการซื้อพันธบัตร เพื่อออมทรัพย์ โดยจะขายให้กับบุคคลทั่วไป และองค์กรไม่แสวงหากำไร ในสังกัดของรัฐบาล ระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปี ขึ้นไป และได้รับ ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง สิ่งที่ต้องแบกรับ ความเสี่ยง...
Read More
3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่

3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่

3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่ 3 สเต็ปซื้อหุ้นสำหรับมือใหม่ การซื้อหุ้น สำหรับมือใหม่ เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง น่าปวดหัวเพราะมีตัวเลขเยอะ กระพริบไปมาเต็มไปหมด บทความนี้ จะนำเอา 3 สเต็ปการซื้อหุ้น สำหรับมือใหม่หัดเล่น มาให้ได้ศึกษากัน เราสามารถทดลองเล่นหุ้น ได้ก่อนที่จะลงทุนจริง ได้ตามเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เปิดให้ทดลองเล่น แถมยังมีเครดิตให้อีกด้วย ยกตัวอย่าง Click2Win เป็นเว็บไซด์ ที่ทุกอย่างเหมือน ตลาดหุ้นจริง จำลองมาไว้ให้ได้ทดลองเล่นกัน การที่เราจะซื้อหุ้น ทั้งทีต้องศึกษา หาข้อมูลให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะการลงทุนทุกอย่าง มีความเสี่ยง 3 สเต็ปมีอะไรบ้าง มาดูกัน 1. ต้องเปิดบัญชี ก่อนที่ซื้อหุ้น เป็นขั่นตอนแรกเลยสำหรับการ ซื้อ-ขาย หุ้น 2. สามารถเล่นผ่านมือถือได้ สะดวกด้วย เราสามารถ ซื้อ-ขาย หุ้นผ่าน Application ได้แล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะใช้ Application ที่ชื่อว่า Streaming ในการซื้อหุ้น สามารถโหลดได้ทั้ง Google Play แล้ว App Store สะดวกและง่ายมาก หลังจากที่โหลด Application เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถสร้าง Account ได้เลย เท่านี้ก็พร้อมที่จะ ซื้อ-ขาย หุ้นกันแล้ว 3. เข้าไปที่เว็ปไซด์ของ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ เพื่อศึกษาว่า ตัวไหนที่สามารถซื้อได้ จะมีลิสต์ ชื่อหุ้น ต่าง ๆ ให้ดู แถมยังดูแยกตาม อุตสาหกรรมที่สนใจได้ด้วย เช่น สนใจหุ้น AIS ชื่อเต็มคือ Advance Info Service ชื่อหุ้นก็คือ ADVANC เป็นต้น เมื่อหาชื่อหุ้นไม่เจอก็สามารถเปิดดูจาก เว็ปไซด์ของ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ เมื่อรู้ชื่อหุ้นแล้ว ก็เข้า Application Streaming แล้วพิมพ์ชื่อหุ้น ที่จะ ซื้อ-ขาย ได้เลย ใส่จำนวนราคา ที่ต้องการไว้ แล้วถ้ามีคนยินดีขายให้ ตามราคาที่ใส่ไว้ ก็จะเกิดการ Match หุ้นก็จะเข้ามาอยู่ในพอร์ต การซื้อขายหุ้นทุกครั้งอย่าลืมตอบให้ได้ว่า ซื้อทำไม แล้วจะขายเมื่อไหร่ ทั้งในกรณีที่มีกำไร และกรณีที่ขาดทุน เป็นคำถามพื้นฐานของคนเล่นหุ้นที่ต้องรู้ นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหุ้นได้ ตามหนังสือ หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือศึกษาจาก นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ มีมากหมายหลายช่องทาง ให้ไปศึกษา ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำเช่นกัน หรืออาจจะไปทดลองเล่นตามเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เปิดให้ทดลองเล่น ก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับมือใหม่อีกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนในหุ้น จะต้องตระหนักถึง ความเสี่ยง ในการลงทุนเสมอ เพราะไม่มีอะไรจะเป็นหลักประกัน ได้ว่าการลงทุนในหุ้น จะต้องให้ผลตอบแทนที่สูง กลับคืนแก่ผู้ลงทุนเสมอไป ผลตอบแทนที่ได้รับ อาจจะสูงหรือต่ำ หรืออาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลยก็ได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเลือก ทางเลือกการลงทุนที่สอดคล้อง กับระดับการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน หากกลัวความเสี่ยงมาก ก็ควรเลือกลงทุน ที่มีความเสี่ยงในระดับที่ไม่สูงนัก และยอมรับระดับอัตราผลตอบแทนที่ไม่สูงเช่นกัน แต่หากผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ก็อาจจะเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงจากตัวของเราเอง เป็นความเสี่ยงที่ ถือว่าเป็น ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการลงทุน เลยก็ว่าได้ เพราะคนส่วนใหญ่นั้น มักที่จะมองเห็นหรือรู้จัก จุดอ่อนภายนอกมากกว่าภายในจิตใจตนเอง แทบทั้งนั้น...
Read More
กองทุน LTF และ RMF

กองทุน LTF และ RMF

กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จัก กับกองทุนทั้ง 2 แบบอย่างกว้าง ๆ เริ่มจาก กองทุน LTF มีกองทุนรวมเพียงประเภทเดียว คือ กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนกองทุน RMF นั้น มีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือก เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว คือกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร เมื่อลงทุนระยะยาวจนครบระยะเวลากำหนดซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรอบระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน ในขณะที่ RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาวไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ โดยผู้ที่ลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีคล้ายคลึงกับ LTF แต่ RMF จะมีกรอบระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานกว่า คือจะถอนเงินลงทุนได้เมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีและถือหน่วยการลงทุนมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังต้องทยอยลงทุนทุกปีโดยหยุดลงทุนได้ไม่เกินปีเว้นปี สรุปภาพรวม คือ LTF และ RMF คือกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีแถมมากับการลงทุนด้วย ดังนั้น กองทุนรวมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาก เพราะนอกจะได้ลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ทางภาษีและลาภต่อที่สองอีกด้วย วัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุน LTF สนับสนุนการลงทุนระยะยาว ผ่านกองทุนรวม และส่งเสริมตลาดหุ้นไทย RMF สนับสนุนให้ออมเงิน ไว้ใช้ในยามเกษียณ นโยบายและเงื่อนไขการลงทุน LTF เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีความเสี่ยงสูง จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เมื่อลงทุนแล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษี กำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจาก เงินลงทุนที่ขายคืนนั้น RMF มีความหลากหลาย ความเสี่ยงมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ นโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ครบถ้วน เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด LTF ไม่มีกำหนดขั่นต่ำ แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี RMF ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้หรอืไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สิทธิประโยชน์ทางภาษี LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ต้องอายุ 55 ปีถึงจะสามารถขายคืนได้ ความต่อเนื่องในการลงทุน LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน...
Read More
การลงทุนแบบ DCA

การลงทุนแบบ DCA

การลงทุนแบบ DCA การลงทุนแบบ DCA เวลามีเงินเหลือเก็บ ก็อยากจะหาทางเลือก ให้กับเงินของเราอยากให้มัน “งอกเงย” วิธียอดนิยมก็คือ เก็บไว้เป็นเงินฝากออมทรัพย์ แต่ว่าดอกเบี้ยมันช่าง ต่ำเตี้ยเหลือเกิน หากจะมาลงทุน ในหุ้นก็ดูจะเสี่ยง แต่โอกาสที่ผลตอบแทนจะสูงกว่า การฝากเงินกินดอกเบี้ยก็มีอยู่ จะมีหนทางตรงกลาง ที่ไม่เสี่ยงมากแต่ได้ผลตอบแทน คุ้มค่าหรือไม่ ? คำตอบก็คือ “มี” หนทางนั้นก็คือ การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) มาดูกันว่า DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร ? และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ? พร้อมแล้วมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน D C A ชื่อเต็ม ๆ คือ (dollar-cost averaging) นั้นคือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้น ๆ ว่า DCA ซึ่งการลงทุน แบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่จะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้ จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป เป็นการลงทุน แบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน ที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุน โดยซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม หรือหุ้น ด้วยวิธี DCA จะทำให้เรา สามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้น หากราคาหุ้นปรับ ตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลง ในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาหุ้น หรือ ของกองทุนที่ต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียด ลงไปได้มาก ข้อดีของการกระจายการลงทุน อย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้น มีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง จะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า วิธีที่ซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถ เอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุด ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่ง ที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาทโดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถ จำลองโอกาสที่จะเกิดขึ้น ดังต่อไป จากตาราง จะเห็นว่า หากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย แกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท จะได้ต้นทุน 9.67 บาท ต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาท ต่อหุ้น โดยจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากซื้อหุ้นทีเดียว เมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน...
Read More
การวิเคราะห์กราฟเทคนิค

การวิเคราะห์กราฟเทคนิค

การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การหาแนวโน้มของราคาถือเป็นเรื่องสำหรับการลงทุนในหุ้น นักเก็งกำไรส่วนใหญ่จะรู้จักเครื่องมือนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเครื่องมือที่คาดการณ์ราคาได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุน (VI) ก็สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อขายได้ การลากเส้นแนวโน้ม เป็นเรื่องง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปใช้ แต่ความแม่นยำของการลากเส้นแนวโน้มจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้งานด้วย หากผู้ใช้งานมีการใช้งานบ่อยจนเกิดเป็นความชำนาญ ก็จะมีความแม่นยำ อย่างแน่นอน การวิเคราะห์กราฟเทคนิค การดูแนวรับแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน แนวที่ราคาขึ้นมาชนแนวเดิมซ้ำๆ ไม่สามารถผ่านไปได้ เรียกว่า แนวต้าน (Resistance line) ส่วนแนวที่ราคาลงมาที่แนวเดิมซ้ำๆ ไม่ทะลุลงเรียกว่า แนวรับ (Support line ) แนวรับและแนวต้านไม่จำเป็นต้องลากผ่านที่จุดต่ำสุดหรือสูงสุดเท่านั้น แต่ควรจะลากผ่านหลายๆจุดซึ่งถือว่ามีนัยที่สำคัญกว่า เมื่อราคาทะลุแนวต้าน แนวต้านเดิมนั้นจะกลายเป็นแนวรับ และเราสามารถคาดการ์ณราคาเป้าหมายในอนาคตได้ คือ เมื่อยกระยะความสูงระหว่างแนวรับกับแนวต้านเดิม คือ A ไปวางที่แนวรับอันใหม่ (ของเดิมเป็นแนวต้าน) แล้ววัดขึ้นไป จะได้เป้าหมายของราคาในอนาคต เราสามารถใช้จุด high หรือ low ก่อนหน้าเป็น แนวรับแนวต้านได้เช่นกัน จากรูปด้านล่างวงกสมสีแดงเป็น high เดิม หรือเป็นแนวต้าน (Resistance line) เก่า จนเมื่อราคาได้ทะลุขึ้นมา แนวต้านนี้จะกลายเป็นแนวรับ (Support line) ทันทีในวงกลมสีน้ำเงิน การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า break out ขาย การหาแนวรับ แนวต้านควรใช้คู่กับการตีเส้นแนวโน้ม trend line จะให้ผลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น การลากเส้นแนวโน้มมาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขาย คือเมื่อลากแนวโน้มขาขึ้นได้แล้วราคา break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอ ให้ทยอยซื้อเรื่อยๆ เมื่อทะลุแนวต้าน แต่ควรซื้อให้น้อยลงกว่าครั้งก่อน เพราะอย่าลืมว่าราคาได้ขึ้นไปสูงแล้วควรจะซื้อให้น้อยลงตามหลักการของ Money management เพื่อลดความเสี่ยง การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาวก่อน มาถึงระยะสั้น เช่น กราฟราย Month, Week, Day และ Minute เป็นต้น เส้นแนวโน้ม Trend Line เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หมายถึง ทิศทางของหุ้นที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ตามแนวโน้มนั้น ๆ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต เราสามารถนำเส้นแนวโน้มไปหาแนวต้าน, แนวรับ หรือหาทิศทางของราคาได้ในแผนภูมิแบบแท่ง, แผนภูมิแบบแท่งเทียน หรือในแผนภูมิแบบ POINT & FIGURE และเราสามารถนำเอาเส้นแนวโน้มไปใช้ร่วมกับ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ได้ เช่น RSI, MOMENTUM ฯลฯ การวิเคราะห์แนวโน้ม Trend Line การวิเคราะห์แนวโน้มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แนวโน้มขึ้น (UPTREND) แนวโน้มลง (DOWNTREND) แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND) แนวโน้มขึ้น (UPTREND) มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่ายอดเก่า และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มขึ้น (UPTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดต่ำอย่างน้อยสองจุดในแนวขึ้น โดยไม่ควรมีจุดฐานที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขึ้นดังกล่าว ต่อมาหากราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นลง - ราคาหุ้นจะขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อยๆ - มีการย่อลงบ้าง แต่จะกลับขึ้นไปอีก และไม่ทำ Low...
Read More
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จะวิเคราะห์จากข้อมูในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นหลัก วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในอดีต ในส่วนนี้เราจะเน้นดูในอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ เช่น ดูค่า PE  P/BV ROE  ROA  เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินพวกนี้ จะเป็นตัวบอกผลงานของตัวหุ้น ผลงานของตัวบริษัทในอดีตว่า ผู้บริหารทีฝีมือดี มีการดำเนินงานมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรือเติบโตมาตลอดหรือไม่ จะเป็นการเสริมความมั่นใจว่าเราถือหุ้นได้ถูกตัว วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในปัจจุบัน จะเป็นการดูงบการเงิน ว่ามีเงินสดอยู่เท่าไหร่ มีหนี้สินเท่าไหร่ เป็นต้น ตัวนี้จะมีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้เราว่า หุ้นของบริษัทนี้ ตัวบริษัทนี้มีความแข่งแกร่งเพียงใด มีความพร้อมต่อการลงทุนเพิ่ม หรือการขยายโครงการในอนาคตที่ทางบริษัทออกมาคุยโม้ไว้หรือไม่ ถ้าบอกจะขยายธุรกิจแต่ในบัญชีมีหนี้สินพะรุงพะรังแบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าเราดูแต่อดีตผลงานดีมาก แถมปัจจุบันการเงินก็มั่นคง แต่ไม่ได้วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต เราอาจจะได้หุ้นแกร่งแต่อยู่ในช่วงถดถอยก็ได้ (หากแนวโน้มตลาดไม่โต) ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นราคาหุ้นก็จะไม่ไปไหน บางทีถือกันจนเหนื่อย วิเคราะห์หุ้นโดยดูแนวโน้มในอนาคต จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ดูแนวโน้มตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภค ในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจลงทุนอยู่ ซึ่งมันจะบอกได้ว่า บริษัทจัดอยู่ในประเภทไหน โตช้า ปานกลาง หรือโตเร็ว การดูแนวโน้มตลาด ลองวิเคราะห์หาข้อมูลดูว่า ตลาดในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจ (จะซื้อหุ้น) ลงทุนอยู่ มีแน้วโน้มเติบโตไปเรื่อยๆ หรือไม่ หรือว่าตลาดอิ่มตัวแล้ว ถ้าตลาดมีแน้วโน้มโตได้อีก แบบนี้ หุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดนั้นๆ ก็น่าจะสามารถโตได้เช่นกัน พฤติกรรมผู้บริโภค เราต้องไปดูแน้วโน้มใหญ่ๆ (Mega Trends) ว่าเป็นไปในแนวทางไหน เช่น คนรุ่นใหม่ใช้อินเตอร์เนตเพิ่มขึ้น คนชอบความสะดวกและเข้าร้านสะดวกซื้อมากขึ้น สังคมบ้านเรามีผู้สูงอายุมากขึ้น รถยนต์เพิ่มมากขึ้นจากโครงการรถคันแรก เป็นต้น จากนั้น เราก็ดูว่าบริษัทได้ออกแบบธุรกิจ เพื่อรองรับกับพฤติกรรมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่ ถ้าบริษัทจับเทรนได้ หุ้นของก็จะเติบโตได้เร็ว และแน่นอนว่ามันจะทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้อีกมากมายมหาศาล เลยทีเดียว การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน PE คืออะไร? หุ้นที่มี P/E ratio สูง หมายถึง ว่าเรายอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อหุ้นตัวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอีกตัวนึงที่มี P/E ต่ำกว่า ดังนั้นหลายคนมักจะบอกว่า หุ้นที่มี P/E ratio สูงๆ คือหุ้นที่แพง และหุ้นที่มี P/E ratio ต่ำๆ คือหุ้นที่ถูก ดังนั้น การซื้อหุ้นที่มีราคาถูก น่าจะมีโอกาสกำไรมากกว่าซื้อหุ้นที่แพง เช่น หากหุ้น A ราคา 60 บาท และมีกำไรต่อหุ้น 5 บาท หุ้น A จะมี P/E ratio 12 เท่า ดังนั้นหากสมมุติว่าหุ้น A ไม่มีหนี้เลยจึงสามารถนำกำไรทั้งหมดมาจ่ายปันผลได้ทั้ง 5 บาท นั่นคือ หุ้น A จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีคือ 5/60 = 8.33% และสมมุติว่าหุ้น A จะสามารถรักษาการทำกำไรได้ปีละ 5 บาทไปเรื่อยๆ จะได้ว่าหากเราลงทุนในหุ้น A จะต้องใช้เวลา 60 / 5 หรือ 12 ปีจึงจะได้ทุนที่ลงไปทั้งหมด 60 บาทคืนมา ดังนั้น P/E จะเปรียบเสมือนระยะเวลาในการคืนทุนของการลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้น B ราคา 60 บาทเท่ากัน และมีกำไรต่อหุ้น 10 บาท หุ้น B จะมี P/E ratio 6 เท่า ถ้าสมมุติในแบบเดียวกันกับหุ้น A จะได้ว่า...
Read More