ตลาดกระทิง VS ตลาดหมี

ตลาดกระทิง VS ตลาดหมี

กระทิงVSหมี หมี VS กระทิง กระทิงVSหมี โดยทั่วไปภาวะตลาดหุ้น แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตลาดเป็นขาขึ้น หรือที่รู้จักกันดีว่า ตลาดกระทิง (Bull Market) และ ตลาดช่วงขาลง หรือ ตลาดหมี ( Bear Market ) แต่ยังมีตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ตลาดขึ้นไม่มากและลงไม่มาก ไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน (Sideway Market) ตลาดกระทิง (Bull Market) คืออะไร? Bull Market ตลาดกระทิง Bull Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบกระทิง คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Up trend ) แบบชันขึ้นมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ ถือว่าเป็น Bull Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bull Market ได้แน่นอน 100% ตลาดหมี (Bear Market) คืออะไร? Bear Market ตลาดหมี Bear Market หมายความว่า สภาวะตลาดที่เป็นแบบหมี คือ ตลาดที่มีเส้นเทรนไลน์ ( Down trend ) แบบชันลงมากกว่า 45 องศา หากเส้นมีความชันแบบนี้ถือว่าเป็น Bear Market โดยปกติมักเอา TF แบบ 1H ขึ้นไปมาเป็นตัวกำหนด แต่หากใช้เส้นต่ำกว่านี้ จะยังไม่สามารถบอกว่าเป็น Bear Market ได้แน่นอน 100% อย่างที่รู้กันว่า ตลาดหุ้น ถือว่าเป็น ตลาดที่มีความผันผวน เป็นอย่างมาก โดยถ้าหากคุณมองดูตลาดในรูปแบบของกราฟ จะเห็นได้ว่า มันมีเส้นพุ่งขึ้น และลงไปตามจังหวะต่าง ๆ กันเราสามารถเรียกภาวะของตลาดเหล่านั้นว่า “ ตลาดกระทิง ( ตลาดขาขึ้น ) ” และ “ ตลาดหมี ( ตลาดขาลง ) ” ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้ ตลาดขาขึ้น คือ ตลาดกระทิง Bull Market เป็นการเรียกตลาดในช่วงขาขึ้น ( โดยเปรียบเทียบกับวัวกระทิง ที่มักจะมองไปข้างบนเสมอ ) มักเป็นภาวะที่เกิดในช่วงเศรษฐกิจแข็งแรง หรือช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น อัตราการว่างงานจึงต่ำ นักลงทุนมักให้ความเชื่อมัน เข้ามาลงทุน ในภาวะที่ตลาดเป็นช่วงกระทิง ซึ่งจะทำให้ตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้น ตลาดขาลง คือ ตลาดหมี Bear Market ตรงกันข้ามกับตลาดกระทิง ตลาดหมี คือ ตลาดในภาวะขาลง ( เปรียบเทียบกับหมี ที่จะมองลงมาข้างล่างเสมอ ) มักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจอ่อนแอ หรือถดถอย มีอัตราการว่างงานสูง รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อสูงด้วยเช่นกัน ซึ่งสภาวะตลาดหมี มักจะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าลงทุน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับดัชนีตลาดหุ้น ที่ตกลงมากว่า 20% เป็นเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า...
Read More
ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน ตลาดการเงิน เป็นกลไกที่ช่วยให้บุคคลและนิติบุคคล ซื้อและขายหลักทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ ตราสารทุน พันธบัตร สกุลเงิน ตราสารอนุพันธ์  และ สินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าอื่น ๆ ที่มีมูลค่าตามราคาต้นทุน การทำธุรกรรมต่ำ และ ราคาที่สะท้อน ถึงอุปสงค์ และ อุปทาน  ตลาดทั้งสองแห่งเป็น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ( NYSE ) ที่ซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดเฉพาะทางหลายแห่ง เนื่องจากตลาดซื้อขาย ฟอแร็กซ์ มีการซื้อขายนับล้านดอลลาร์ ต่อวัน ราคาหุ้นที่ซื้อขาย ในตลาดการเงินอาจแตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ เนื่องจาก ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น ภาษีอากร เป็นต้น นอกจากนี้ ความโปร่งใสของบริษัท ที่ปล่อยออกมามีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาหลักทรัพย์ โครงสร้างตลาดการเงิน ตลาดตราสารทุน ตลาดการเงินที่ช่วยให้นักลงทุน ซื้อและขายหุ้น ในบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ได้เรียกว่าตลาดหุ้น คำว่า "หุ้น" หมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ กรรมสิทธิ์ในบริษัท มีตลาดหุ้นสองประเภท คือตลาดหลัก ที่บริษัทเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป และ ตลาดรอง ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ ที่มีอยู่จะถูกซื้อและขาย โดยนักลงทุน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข่าว และปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัทที่จดทะเบียน  ตลาดทุน มีสภาพคล่อง และซับซ้อน เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดการเงินอื่น ๆ ตลาดรองตราสารทุน ตลาดนอกระบบ ( OTC ) เป็นตลาดแบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีสถานที่ตั้งหลักทางกายภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมตลาดจะซื้อขายกันเอง โดยใช้รูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ ระบบอีเมล และ ระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ ตลาดนอกระบบ OTC และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือสองวิธีพื้นฐานในการจัดตลาดการเงิน  ในตลาด OTC ตัวแทนจำหน่ายทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในตลาด โดยการกำหนดราคาที่จะซื้อและขายหลักทรัพย์ หรือ สกุลเงิน  การค้าสามารถดำเนินการได้โดยระหว่างสองผู้เข้าร่วมในตลาด OTC โดยที่ผู้อื่นไม่ทราบราคาที่ได้รับผลกระทบ จากการทำธุรกรรมดังกล่าว   ตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ คือตลาดสำหรับพันธบัตรทุกประเภท และสถานที่ซึ่งองค์กรต่าง ๆ จะได้รับเงินกู้จำนวนมาก โดยทั่วไปเมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง  พันธบัตรมีอยู่หลายประเภทได้แก่  พันธบัตรตั๋วเงิน คลังพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และ พันธบัตรเทศบาล ตัวอย่างหนึ่ง ของพันธบัตรอาจเป็นหุ้นกู้ก็ได้ ตลาดเงิน ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดเหล่านั้นที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงิน ที่มีการครบกำหนดในระยะเวลาสั้น ๆ  ตลาดเหล่านี้ ช่วยให้ทั้งบริษัท และรัฐบาล สามารถเอาชนะปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นได้ หากมีสภาพคล่องส่วนเกินในรูปของเงินสดแล้ว เราสามารถซื้อได้ในตลาดเงิน และในช่วงที่สภาพคล่องสามารถขายหลักทรัพย์ระยะสั้นที่ไม่ได้ใช้งานได้กับบริษัท หรือ รัฐบาลที่อยู่ในตลาดเงิน ตั๋วเงินคลัง  ตราสารพาณิชย์  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง เงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน เป็นเครื่องมือบางประเภทที่มีการซื้อขายในตลาดเงิน ตลาดตราสารอนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือทางการเงิน ที่เกิดจากมูลค่าของสินทรัพย์อื่นซึ่งจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง  ตราสารอนุพันธ์ อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน และเป็นนวัตกรรมมากที่สุดและนั่น เป็นเหตุให้เกิดการเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นจำนวนมาก ในตราสารอนุพันธ์ และปริมาณธุรกรรมรายวันที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์มากกว่าล้านล้านดอลลาร์  ฟอร์เวิร์ด ฟิวเจอร์ ออปชั่น และ สวอป เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ใช้ในตลาดอนุพันธ์  ตลาด Forex ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก สกุลเงินต่างๆอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว และซื้อขายกันเป็นคู่ ๆ เสมอ ตลาด Forex ทำงานเกือบตลอดทั้งวันที่มีปริมาณมหาศาลเงินประมาณ 5.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน Forex เป็นตลาดที่ไม่ต้องสั่งซื้อซึ่งตลาดนอกระบบนี้ดำเนินธุรกิจผ่านทางโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นต้น ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ธนาคารพาณิชย์...
Read More
ประเภทของหุ้น

ประเภทของหุ้น

ประเภทของหุ้น 1.หุ้นสามัญ (Common Stock) ประเภทของหุ้น สามัญเป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชน จำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญ จะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียง ลงมติ ในที่ประชุม ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจ ในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ หุ้นสามัญ ตราสารทุน ที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้น ๆ การถือหุ้นสามัญ เป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลาย หรือ เลิกกิจการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะมีเครื่องหมาย - (ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น กำหนดให้ ZZZ คือหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด ZZZ-W คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (วอแรนต์) ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด (บริษัทเป็นผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์เอง)ZZZ-F คือหุ้นสามัญ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-P คือหุ้นบุริมสิทธิ์ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-Q คือหุ้นบุริมสิทธิ์ สำหรับชาวต่างชาติ ของบริษัท ZZZ จำกัดZZZ-C คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ZZZ จำกัด ที่ออกโดยบุคคลที่สาม ที่ผ่านมาบุคคลที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ดังกล่าว คือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ประเภทของหุ้นสามัญแบ่งตามกลุ่มการลงทุน หุ้นบลูชิป (Blue-chip stock) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high risk, high return ตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้นIncome stock หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดGrowth stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่มักจ่ายเงินปันผลต่ำCyclical stock หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัว หดตัวตามวงจรของเศรษฐกิจDefensive stock หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด หรือหุ้นที่มีค่าเบต้าติดลบLarge-cap stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 4,400 ล้านบาท เช่น หุ้นใน SET50 indexMidcap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดอยู่ระดับกลางระหว่าง 540 -4,400 ล้านบาทSmall-cap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 540 ล้านบาท นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญ ยังมีสิทธิได้รับเงินปันผล เมื่อบริษัทมีผลกำไร และ มีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ตามศักยภาพของบริษัท รวมถึง มีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุน หรือ จัดสารใบสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น ข้อดี หุ้นสามัญ1. ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 2. จำหน่ายง่าย เพราะ มีอัตราตอบแทนสูงกว่า หุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้3. มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม ข้อเสีย หุ้นสามัญ1. มีผลตอบแทนไม่แน่นอน2. ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นสามัญ สูงกว่าหุ้นบุริมสิทธิ และ หุ้นกู้ 2.หุ้นบุริมสิทธิ...
Read More
ความรู้เกี่ยวกับหุ้น

ความรู้เกี่ยวกับหุ้น

ความรู้เกี่ยวกับหุ้น ความรู้เกี่ยวกับหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand SET) ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่าง ๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หุ้น คือ หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัท ราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตามผลประกอบการของบริษัท และ ภาวะตลาด พูดกันง่าย ๆ หุ้น ก็คือ สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการ ยกตัวอย่าง เช่น หากเราลงเงินกับเพื่อนคนละครึ่ง เพื่อเปิดร้านกาแฟ เราจะมีสิทธิ์ในกิจการร้านกาแฟครึ่งหนึ่ง สิทธิ์นี้เองที่เรียกว่าหุ้น ซึ่งอีกความหมายก็แปลว่าหุ้นส่วนนั้นเอง การเล่นหุ้น หรือ การลงทุนในหุ้น คือ การซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในการซื้อขายหุ้นนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ตลาด คือ ตลาดแรก และ ตลาดรอง การซื้อขายในตลาดแรก หรือ การซื้อขายหุ้น IPO (Initial Public Offering) เกิดจากการที่บริษัทต้องการระดมทุน จากนักลงทุนเพื่อขยายกิจการ โดยราคาหุ้นจะถูกกำหนดไว้ให้นักลงทุนมาจับจอง ในการซื้อหุ้น IPO นั้นจะต้องจองซื้อผ่านผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หรือ ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้ง ส่วนการซื้อขายหุ้นหลังจากนั้น จะเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดรอง ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จะเปลี่ยนแปลงตามผลการดำเนินการของบริษัท และ สภาวะตลาด ตามหลักของ demand supply นักลงทุนมีหลายประเภท 1. นักลงทุนสาย Fundamentals คือ กลุ่มที่เลือกซื้อหุ้นโดยพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน ผลการดำเนินงานบริษัท ให้ความสำคัญกับการอ่านงบกำไรขาดทุน งบดุล และ งบกระแสเงินสด รอจังหวะเข้าซื้อหุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม แล้วรอขายเมื่อราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริง โดยระหว่างทางก็เก็บเงินปันผลไปเรื่อย ๆ 2. นักลงทุนสาย Technical Analysis จะเน้นดูกราฟราคาย้อนหลัง ร่วมกับเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เพื่อหาสัญญานในการเข้าซื้อ และ จุดขายทำกำไร ส่วนเราจะเป็นนักลงทุนสายไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การลงทุน และ นิสัยส่วนบุคคล สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย NP (Notice Pending) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียน NR (Notice Received) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการชี้แจงข้อมูลหรือรายงานจากบริษัทจดทะเบียนที่ขึ้นเครื่องหมาย NP แล้ว และจะขึ้นเครื่องหมาย NR เป็นเวลา 1 วัน H (Trading Halt) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย SP (Trading Suspension) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย XD (Excluding Dividend) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะได้สิทธิในเงินปันผลดังกล่าว จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD XR (Excluding Right) เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนในครั้งนั้นของบริษัท หากผู้ลงทุนต้องการได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน...
Read More