หลักและวิธีการวินิจฉัยกำไรต่อหุ้น

หลักและวิธีการวินิจฉัยกำไรต่อหุ้น

หลักและวิธีการวินิจฉัยกำไรต่อหุ้น ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ หลักและวิธีการวินิจฉัยกำไรต่อหุ้น ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ วิธีการคำนวณการเติบโตของกำไรของบริษัท ภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หากบริษัทมีอายุการจัดตั้งและได้ดำเนินการเสนอขาย หุ้น ให้แก่สาธารณะชนครั้งแรก (IPO : ไอพีโอ) น้อยกว่าระยะเวลา 10 ปี ให้พิจารณาประวัติการเติบโตของกำไรต่อ หุ้น ตั้งแต่วันแรกของ IPO โดยวอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ให้ข้อมูลของ หลักและวิธีการวินิจฉัยกำไรต่อ หุ้น ไว้ด้วยจะเป็นอย่างไรนั้น ตามไปดูกันเลย หุ้น การคำนวณอัตราการเติบโตด้านกำไรของบริษัท การคำนวณอัตราการเติบโตด้านกำไรของบริษัท ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ว่าได้กำไรจำนวนเท่าไหร่ มีแนวโน้มการเติบโตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ มีวิธีการคำนวณดังนี้ กำไรต่อหุ้น = รายได้สุทธิของบริษัท ÷ จำนวนของหุ้นซึ่งอยู่ในมือของผู้ถือหุ้น (หุ้นที่เรียกชำระแล้ว) ส่วนการคำนวณเพื่อให้ทราบอัตราการเติบโตของกำไรของหุ้น มีวิธีการดังนี้ อัตราผลตอบแทน           =          (มูลค่าในอนาคต / มูลค่าในปัจจุบัน)1/N–1x 100 อัตราผลตอบแทน           =          เปอร์เซ็นต์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น มูลค่าในอนาคต              =          มูลค่ากำไรต่อหุ้นในอนาคต  มูลค่าในปัจจุบัน            =          มูลค่ากำไรต่อหุ้นในปัจจุบัน N                                  =          จำนวนปี กำไรสะสมที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของบริษัท สะท้อนให้เห็นมูลค่าในราคาค่าหุ้นหรือไม่ การคำนวณมูลค่ากำไรสะสมจากหุ้นที่แท้จริงของบริษัททุกครั้ง หากต้องการเห็นผลลัพธ์ด้านมูลค่าตอบแทนและกำไรสะสมที่แท้จริง ควรพิจารณาขึ้นกับตลาดที่มีระยะยาว 10 ปี หรือมากกว่า ซึ่งในการคำนวณเพื่อให้ทราบว่าฝ่ายบริหารของบริษัทคุณทำการลงทุนส่วนกำไรให้แก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด การลงทุนนั้นส่งผลตอบแทนที่สูงขึ้นมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับกำไรสะสมเหล่านั้น ซึ่งหากฝ่ายบริหารมีการจัดสรรและลงทุนให้เกิดกำไรสะสมได้ในปริมาณมาก มันจะช่วยสะท้อนกำไรให้แก่บริษัทอย่างแน่นอน อีกทั้งยังส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นอีกด้วย กำไรของเจ้าของในช่วงระยะเวลา 10 ปี คืออะไร แนวโน้มที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ กำไรของเจ้าของ คือ กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายในการลงทุน ซึ่งกำไรหักการหักลบก็คือยอดคงเหลือที่เจ้าของการลงทุนจะได้รับนั่นเอง สูตรการคำนวณกำไรของเจ้าของ มีวิธีการดังนี้ กำไรของเจ้าของ = รายได้สุทธิ + ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย – ค่าใช้จ่ายการลงทุนรายได้สุทธิ (Net income)  = รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย หรือรายได้หลังจากหักค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แล้วค่าเสื่อมราคา (Depreciation)  = สินทรัพย์มีตัวตน เช่น พวกที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) = สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่นสิทธิการเช่า ลิขสิทธิ์ค่าใช้จ่ายการลงทุน (Total expenses) = ค่าใช้จ่ายในการลงทุนทุกประเภท โดยเราสามารถคิดค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่เงินสดที่เข้าไปในรายได้สุทธิและหักลบค่าใช้จ่ายในการลงทุน เราจะมองหาอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไรต่อหุ้นได้อย่างไร และสามารถเทียบกับอัตราการเติบโตของอัตราการเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้หรือไม่ หลักการการลงทุนหลักทรัพย์ที่ดี นักลงทุนควรจัดสรรเปอร์เซ็นต์การลงทุนหุ้นในบริษัทที่มีขนาดใหญ่บ้าง ด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทขนาดใหญ่มีความมั่นคงและมีหลักทรัพย์สูง หากตลาดมีแนวโน้มที่จะต่ำ ลง หรือเรียกได้ว่าอยู่ใน ช่วงขาลง หุ้นเหล่านั้นจะช่วยส่งผลให้มีอัตราการร่วงของมูลค่าหุ้นในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า เพราะหากเราเลือกลงทุนหุ้นในบริษัทขนาดกลางหรือบริษัทขนาดเล็กเท่านั้น ผลที่ตามมาก็อาจจะเสียหายได้อย่างคาดไม่ถึง สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตรากำไรต่อหุ้นในบริษัท คือการเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของหุ้นในระยะยาว ซึ่งเห็นได้ว่า หากวิเคราะห์จริง ๆ แล้ว บริษัทใหญ่ ณ ปัจจุบัน ก็เกิดจากการเป็นบริษัทขนาดเล็กมาก่อน ซึ่งในการบริหารและจัดการของบริษัทนั้นหากมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง ก็จะส่งให้มีการยกระดับจากบริษัทขนาดเล็กเป็นบริษัทขนาดกลาง ซึ่งก็เป็นไปได้อีกว่าหลังการเติบโตของบริษัทขนาดกลาง อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการขยายการเติบโตจำนวนหลายปี ถึงจะสามารถยกระดับไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้ ซึ่งได้เห็นได้ชัดว่า บริษัทขนาดใหญ่ จะเรียกได้ว่าการเติบโตชะลอตัวแต่ก็ไม่ถึงกับหยุดชะงัก เพราะเมื่อบริษัทขนาดใหญ่ มักจะมีการบริหารจัดการหลายส่วนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเติบโตที่จะเกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเติบโตในทิศทางการขยายภายใน ไม่ว่าจะเป็น การขยายบริษัทไปสู่พื้นที่หรือภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก การเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือสายการผลิตใหม่ การขยายตลาดไปสู่ตลาดใหม่ และขยายตัวด้วยการซื้อกิจการเพื่อเพิ่มบริษัทลูก เหตุการณ์ใดบ้างที่ส่งผลให้บริษัทคุณมีกำไรเพิ่มขึ้น ในการคำนวณและวิเคราะห์หุ้นของบริษัท คุณจำเป็นต้องทราบที่มาของกำไรและลำดับการซื้อ – ขาย ทั้งหมดของบริษัท เพราะหากบริษัทคุณมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกตุ นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน โดยที่คุณจำเป็นจะต้องนำรายการกำไรที่เกิดขึ้นนั้นออกจากรายการคำนวณประวัติของกำไร เพื่อจะนำมาคาดคะเนถึงผลกำไรนั้นอย่างถี่ถ้วน เพราะการที่กำไรเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต อาจจะขึ้นจากการขายสินทรัพย์ หรือเกิดจากการที่มีคำสั่งซื้อจำนวนมากจากลูกค้าเพียงรายเดียว ซึ่งจากการคาดคะเนพบว่ากำไรที่เกิดขึ้น อาจจะให้ผลกำไรแก่บริษัทแค่จำนวน 1 ปี หรือ 2...
Read More