รู้จักกับกองทุนรวมต่างประเทศ

รู้จักกับกองทุนรวมต่างประเทศ

สำหรับนักลงทุกที่กำลังสงสัยว่า กองทุนรวมต่างประเทศ คืออะไร เคยได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจ วันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับการลงทุนในต่างประเทศผ่าน กองทุนรวมต่างประเทศ โดยที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เราเรียกว่า Foreign Investment Fund หรือ FIF เป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดย ก.ล.ต. กำหนดให้กองทุนต้องลงทุนในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ ก.ล.ต.โลก (IOSCO) หรือในประเทศที่มีตลาดหลักทรัพย์เป็นสมาชิกขององค์กรตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE) เพื่อให้เชื่อใจได้ว่าตลาดหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนไปลงทุนนั้นจะได้รับการกำกับดูแลที่ดีในระดับมาตรฐานสากล ในปัจจุบันกองทุนรวม FIF ของไทยมีรูปแบบการบริหารแบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ 1. แบบที่บลจ. ไทยบริหารกองทุนด้วยตนเอง โดยนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินค้าทางการเงินต่างๆ ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรต่างๆ เช่น อ้างอิงกับราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีราคาหลักทรัพย์ ราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ราคาทองคำหรือราคาน้ำมันดิบ เป็นต้น แต่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงการลงทุนโดยตรงในสินค้าอื่นอีกหลายประเภท เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ประเภททองคำและน้ำมัน ตัวอย่างของกองทุนรวมต่างประเทศประเภทนี้ที่ออกมาเสนอขายและเป็นที่นิยมกัน เช่น กองทุนรวม FIF ที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ 2. แบบที่ บลจ. ไทยไปซื้อกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง  หรือเป็นการลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมในต่างประเทศนั่นเอง โดยสามารถลงทุนได้ 2 วิธี คือ 2.1 กองทุนรวมประเภท Fund of Funds เป็นการนำเงินไปซื้อกองทุนรวมในต่างประเทศหลายๆ กอง ซึ่งอาจจะมีนโยบายการลงทุนที่คล้ายกันหรือมีนโยบายต่างกันก็ได้ โดยบลจ. ไทยจะเป็นผู้กำหนดว่าจะนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศกองใดบ้าง ในสัดส่วนเท่าใด และจะมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ตามความเหมาะสมภายใต้เกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด               2.2 กองทุนรวมประเภท Feeder Fund เป็นการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศเพียงกองเดียว ซึ่งเรียกว่า Master Fund เช่น กองทุนรวม FIF X ไปลงทุนในกองทุนรวม Y ที่จัดตั้งในต่างประเทศเพียงกองเดียว ซึ่งกองทุนรวม Y จะมีผู้จัดการกองทุนที่อยู่ต่างประเทศเป็นผู้ดูแลและบริหารเงิน โดยอาจจะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือสินค้าทางการเงินต่างๆ ตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ ตัวอย่างของกองทุนรวมแบบ Feeder Fund ของไทย เช่น กองทุนรวม FIF ที่ไปลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง เป็นต้น เนื่องจากกองทุน รวม FIF จะต้องนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนจะมีงานที่เพิ่มขึ้นคือ การค้นหาและวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีอยู่ในตลาดของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถของผู้จัดการกองทุนมากพอสมควร หากบริษัทจัดการกองทุนไม่มีเครือข่ายหรือพันธมิตรในต่างประเทศ ที่จะส่งข้อมูลบทวิเคราะห์ให้กับผู้จัดการกองทุน แทนที่กองทุน FIF จะเลือกหลักทรัพย์เพื่อลงทุนเอง บางกองทุนอาจจะเลือกวิธีลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีความชำนาญและมีการลงทุนในตราสารที่ตรงกับนโยบายของกองทุน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้จัดการกองทุนได้มาก และเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วย  ในส่วนของค่าธรรมเนียมการจัดการ หากลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง ก็จะมีค่าธรรมเนียม 2 ชั้น คือ ค่าธรรมเนียมการจัดการของ บลจ. ไทยที่ออกกองทุน และค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนต่างประเทศที่ บลจ. ไปลงทุนต่อ ทำให้โดยมากค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนรวมต่างประเทศจะสูงกว่า ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนรวม FIF น่าสนใจอย่างไร? เป็นช่องทางให้นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสลงทุนในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก มีมืออาชีพมาช่วยบริหารจัดการการลงทุนแทน ทำให้สามารถกระจายการลงทุนไปในสินค้าทางการเงินที่หลากหลายครอบคลุมมากกว่าสินค้าที่มีเสนอขายอยู่ในประเทศ และช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนจากภาวะที่ตลาดการเงินในประเทศมีความผันผวนสูงได้มีทางเลือกหลากหลายให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากปัจจุบันนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม FIF มีความหลากหลายมาก มีทั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ และกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น กองทุนรวมทองคำ ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมทองคำก็เป็นหนึ่งในประเภทการลงทุนในกองทุนรวม FIF ด้วยบางกองทุนก็เลือกเน้นลงทุนเฉพาะบางภูมิภาคของโลกโดยเน้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มอัตราการเติบโตสูง (Emerging Markets) เช่น กลุ่มประเทศ BRIC (Brazil, Russia, India, China) หรือบางกองก็เลือกลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค พลังงานทดแทน อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ หรืออาจเลือกลงทุนในอุตสาหกรรม นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย เป็นต้น ประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างไร? โดยทั่วๆ ไป ก็จะใช้วิธีนำผลประกอบการของกองทุนรวมไปเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด...
Read More