
การลงทุนแบบ DCA
การลงทุนแบบ DCA
การลงทุนแบบ DCA เวลามีเงินเหลือเก็บ ก็อยากจะหาทางเลือก ให้กับเงินของเราอยากให้มัน “งอกเงย” วิธียอดนิยมก็คือ เก็บไว้เป็นเงินฝากออมทรัพย์ แต่ว่าดอกเบี้ยมันช่าง ต่ำเตี้ยเหลือเกิน
หากจะมาลงทุน ในหุ้นก็ดูจะเสี่ยง แต่โอกาสที่ผลตอบแทนจะสูงกว่า การฝากเงินกินดอกเบี้ยก็มีอยู่ จะมีหนทางตรงกลาง ที่ไม่เสี่ยงมากแต่ได้ผลตอบแทน คุ้มค่าหรือไม่ ? คำตอบก็คือ “มี” หนทางนั้นก็คือ การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging)
มาดูกันว่า DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร ? และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ? พร้อมแล้วมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
D C A ชื่อเต็ม ๆ คือ (dollar-cost averaging) นั้นคือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้น ๆ ว่า DCA ซึ่งการลงทุน แบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่จะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้ จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป
เป็นการลงทุน แบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน ที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุน โดยซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม หรือหุ้น ด้วยวิธี DCA จะทำให้เรา สามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้น หากราคาหุ้นปรับ ตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลง ในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาหุ้น หรือ ของกองทุนที่ต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียด ลงไปได้มาก
ข้อดีของการกระจายการลงทุน อย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA
ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้น มีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง จะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า วิธีที่ซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถ เอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุด
ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่ง ที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาทโดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถ จำลองโอกาสที่จะเกิดขึ้น ดังต่อไป
จากตาราง จะเห็นว่า หากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย แกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท จะได้ต้นทุน 9.67 บาท ต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาท ต่อหุ้น โดยจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากซื้อหุ้นทีเดียว เมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน...