
กองทุน LTF และ RMF
กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร
กองทุน LTF และ RMF ต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จัก กับกองทุนทั้ง 2 แบบอย่างกว้าง ๆ เริ่มจาก กองทุน LTF มีกองทุนรวมเพียงประเภทเดียว คือ กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนกองทุน RMF นั้น มีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือก เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น
LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว คือกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร เมื่อลงทุนระยะยาวจนครบระยะเวลากำหนดซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรอบระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน
ในขณะที่ RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาวไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ โดยผู้ที่ลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีคล้ายคลึงกับ LTF แต่ RMF จะมีกรอบระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานกว่า คือจะถอนเงินลงทุนได้เมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีและถือหน่วยการลงทุนมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังต้องทยอยลงทุนทุกปีโดยหยุดลงทุนได้ไม่เกินปีเว้นปี
สรุปภาพรวม คือ LTF และ RMF คือกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีแถมมากับการลงทุนด้วย ดังนั้น กองทุนรวมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาก เพราะนอกจะได้ลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ทางภาษีและลาภต่อที่สองอีกด้วย
วัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุน
LTF สนับสนุนการลงทุนระยะยาว ผ่านกองทุนรวม และส่งเสริมตลาดหุ้นไทย
RMF สนับสนุนให้ออมเงิน ไว้ใช้ในยามเกษียณ
นโยบายและเงื่อนไขการลงทุน
LTF เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีความเสี่ยงสูง จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เมื่อลงทุนแล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษี กำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจาก เงินลงทุนที่ขายคืนนั้น
RMF มีความหลากหลาย ความเสี่ยงมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ นโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ครบถ้วน
เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด
LTF ไม่มีกำหนดขั่นต่ำ แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
RMF ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้หรอืไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แต่ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ต้องอายุ 55 ปีถึงจะสามารถขายคืนได้
ความต่อเนื่องในการลงทุน
LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี
RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน...